ในหมู่ไบท์เกอร์ที่ลุ่มหลงในมอเตอร์ไซด์น้อยคนนักที่ไม่รู้จักท่อไอเสียแต่ง อะ-แครป-โอ-วิช(A-Krap-o-vich)หรือที่เรียกกันทั่วไปในบรรดาไบท์เกอร์ไทยว่าอะแครปโปวิคหรืออาคาร์โปวิค ท่อไอเสียที่ซึมซับกันว่าเป็นท่อไอเสียแต่ง ระดับคุณภาพอันดับหนึ่งของโลก รถมอเตอร์ไซด์ที่ลงสนามแข่งทั่วโลกไม่ว่ารายการไหนหรือรถยี่ห้อใดก็ล้วนแล้วแต่ติดตั้งท่อแต่งอะ-แครป-โอ-วิช ทั้งสิ้นยังรวมถึงรถยนต์แข่งฟอร์มูล่า1และรถยนต์หรูอย่างแลมโบกินี่ กัลลาโดหรือออดี้ อาร์8หรือมอเตอร์ไซด์ระดับทอปอย่างบีเอ็มดับเบิ้ลยูก็ยังติดตั้งท่อไอเสียอะ-แครป-โอ-วิชแต่งให้กับลูกค้าที่ต้องการเพิ่มสมรรถนะมาจากสายการผลิตของโรงงาน
ถึงราคาจะสุดโหด
แต่ก็มีมนต์เสน่ห์ในแง่การออกแบบที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์
น้ำหนักเบาติดตั้งกับตัวรถได้อย่างแนบเนียน ความล้ำลึกของเสียงที่แผดออกมาและสมรรถนะที่รีดออกมาดึงดูดใจไบท์เกอร์ให้อยากลิ้มลองเพราะแบรนด์
อะ-แครป-โอ-วิช นอกจากบ่งบอกสถานะของคนขับแล้วยังบ่งบอกรสนิยมอันละเมียดละมัยและมันรีดสมรรถนะของเครื่องยนต์ได้จริงอีกด้วย
ราคาของมันแบบเต็มสูบ สามารถซื้อรถมอเตอร์ระดับ150ซีซีอย่างยามาฮ่าM-Slaz 150ได้อย่างสบายๆ
อิกเกอร์ อะ-แครป-โอ-วิช
บุรุษผู้ขับเคลื่อนบริษัทผลิตท่อไอเสียคุณภาพสูงผู้ที่รักกีฬาการขับขี่ท้าความเร็วระดับโลก
ไม่ว่ามอเตอร์ไซด์หรือรถยนต์ล้วนแล้วแต่เป็นลูกค้าเขาทั้งสิ้น
ด้วยชีวิตที่เหมือนหลุดมาจากบทภาพยนต์ของฮอลีวู้ด ต่างกันก็ตรงที่มันเป็นชีวิตจริงของชายคนหนึ่งที่ทุ่มเทให้กับความหลงไหลในการแข่งขันความเร็วและการปรับแต่งรถมอเตอร์ไซด์
ที่เริ่มจากชีวิตที่ขัดสนในฐานะนักแข่งมอเตอร์ไซด์แล้วสิ้นสุดด้วยการเป็นผู้ประกอบการแห่งปี
ของประเทศสโลวีเนียในอีก15ปีต่อมา
ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดหากวัดจากมาตรฐานทั่วๆไป
ด้วยวัยในขณะนี้ 54ปี ความสำเร็จของเขายึดโยงกับการผสมผสานรหว่างการทำงานอย่างหนัก
การพัฒนาอย่างเฉลียวฉลาดและการยืนหยัดอย่างมั่นคงในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์
ด้วยจิตวิญญาที่ลุ่มหลงในการแข่งรถ
อย่างบ้าคลั่ง เป้าหมายคือการยืนอยู่บนโพเดียมของการแข่งขันทุกแมทช์
เขาไม่ใช่แค่ลงสนามแข่งขันเท่านั้นแต่ยังมีทักษะในการปรับแต่งเครื่องยนต์ซึ่งได้เป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งยวดในการต่อยอดนำไปสู่การเปิดธุกิจผลิตท่อไอเสีย
ซึ่งเขาตระหนักว่าเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถรีดสมรรถนะได้ถึงขีดสุดได้ในเวลานั้น
และเขาต้องการผลิตท่อไอเสียคุณภาพดีที่ผลักดันสมรรถนะของรถให้ได้ตามที่คาดหวังให้ได้
อิกเกอร์ลุ่มหลงการแข่งขันเป็นชีวิตจิตใจ
ปลายปี 1980 อิกเกอร์
อะ-แครป-โอ-วิช ในฐานะนักแข่งมอเตอร์ไซด์ เชี่ยวชาญในการปรับแต่งเครื่องยนต์
รู้สึกได้ว่าระบบท่อไอเสียของรถมอเตอร์ไซด์มีคุณภาพยังไม่ถึงขั้น
ถ้าปรับให้ดีจะช่วยรีดสมรรถนะของรถได้เพิ่มขึ้นอีก จึงมุ่งมั่นในการพัฒนาท่อไอเสียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการตั้งไข่ให้กับการเปิดธุรกิจท่อไอเสียขึ้นที่บ้านในปี1990
ดุจเดียวกับสตีฟ จ๊อป อดีตเจ้าพ่อแอปเปิลที่เริ่มธุรกิจจากโรงรถที่บ้านเมื่อเริ่มผลิตคอมพิวเตอร์
อิกเกอร์ อะ-แครป-โอ-วิช
เจ้าของบริษัทอะ-แครป-โอ-วิช ระบบท่อไอเสียอันดับหนึ่งของโลก
อิกเกอร์
ยอมรับว่า “ จริงๆแล้วผมโชคดีที่งานอดิเรกที่ผมรักมากได้กลายไปเป็นงานประจำ
งานส่วนนี้ต้องทำงานกับเครื่องยนต์ ผมรักมันและสนุกมากเลย”
เขารวบรวมเพื่อนฝูงเข้าร่วมทีมเพื่อสร้างธุรกิจที่เขารัก
เขาคัดเพื่อนๆระดับฝีมือที่แต่ละคนพกเอาความเชี่ยวชาญและลุ่มหลงอย่างหัวปักหัวปัม
สลาฟโก้ มือขวาของอิกเกอร์
ก่อนตั้งบริษัทเขาทำงานช่วยพ่อในโรงงานผลิตแม่แบบฉีดพลาสติค
ช่วงว่างก็หันไปปรับแต่งเครื่องยนต์มอเตอร์ไซด์ให้กับเพื่อนฝูง
เขาหลงไหลในกีฬาการแข่งขันมอเตอร์ไซด์อย่างที่สุด
โรงงานผลิตระบบท่อไอเสียที่มีรากฐานมาจากการรักกีฬาการแข่งขันมอเตอร์ไซด์
เตือนความจำให้รู้ว่าเขาเริ่มต้นมาอย่างไร “ ผมแข่งมอเตอร์ไซด์มากว่า10ปี
ช่วยพ่อบ้างในบริษัทของพ่อในธุรกิจผลิตภัณฑ์พลาสติค
แต่ผมก็พุ่งความสนใจไปที่งานการแข่งขันของผมอย่างเต็มที่
ผมชื่นชมนักแข่งระดับขาใหญ่และอยากมีส่วนร่วมในการแข่งขันระดับนั้นบ้าง ผมคอยดูแลทางด้านเทคนิคเครื่องยนต์ด้วยตัวเอง
ผมเริ่มเปิดร้านปรับแต่งเครื่องยนต์ ดัดแปลงเครื่องยนต์
และเตรียมเครื่องยนต์ให้กับนักแข่งทั่วไป นั่นคือช่วงปี1990
งานของผมคือการปรับแต่งวาวล์ ฝาสูบ กระบอกสูบและเพลาข้อเหวี่ยง ผมถนัดการโมรถ
คาวาซากิ ฮอนด้า อาร์ซี30และก็ดูกาติ ในไม่ช้าผมจึงตระหนักว่า
ระบบท่อไอเสียยังไม่อยู่ในขั้นสุดๆ จึงตัดสินใจผลิตเอง หลังจาก5-6เดือนต่อมา
ผมซื้อเครื่องดัดท่อมา ลองผิดลองถูกหลายอย่าง การบัดกรี การพัฒนา
จึงเก็บเกี่ยวจากประสบการณ์ที่ทดลองต่างๆ”
บริษัทได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี1990
สลาฟโก้ ช่างไฟที่มีความถนัดในด้านการเชื่อมและปรับแต่งเครื่องยนต์
ได้เข้าร่วมในปี1992 ขณะที่ มาร์โก้ อเดมิค
เข้าร่วมทีมในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายในปีถัดมา
มาร์โก้
กล่าวว่า “ เราเริ่มต้นจากทีมเล็กๆ มีอิกเกอร์ สลาฟโก้และผม
เมื่อธุรกิจเจริญเติบโต เราก็ยังอยู่ด้วยกันตลอดเวลา แม้เมื่อบริษัทเติบใหญ่ขึ้น ขวัญและกำลังใจของพวกเราก็ยิ่งดีขึ้น
พนักงงานของเราต้องการทำงานให้กับทีมเรา
เงินเดือนพนักงานของเราสูงกว่าอัตราเงินเดือนพนักงานทั่วไปในประเทศสโลเวเนีย100%
นั่นคือนโยบายของอิกเกอร์
เขาต้องการให้พนักงงานอยากทำงานที่นี่ พนักงานของเราส่วนใหญ่สนใจการแข่งขัน เห็นได้จากพวกเขาจะโพสต์ผลการแข่งขันทุกสัปดาห์บนกำแพง
พวกเขาต้องการรู้ว่ารถที่ติดตั้งท่อไอเสียของเราได้รับชัยชนะหรือไม่”
อิกเกอร์กล่าวเพิ่มเติมว่า
“ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ พนักงานต้องมีความหลงไหลในงานที่เขาทำ
พวกเขาต้องหลงไหลในมอเตอร์ไซด์ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงให้ผลตอบแทนกับเราถึง110%.”
ตอนเริ่มต้นตั้งบริษัท
อิกเกอร์ใช้เวลาครึ่งหนึ่งไปกับการปรับแต่งเครื่องยนต์
ส่วนเวลาที่เหลือใช้ไปกับการผลิตท่อไอเสีย ผลงานของเขามีคุณภาพดีจึงได้รับการยอมรับ
ในไม่ช้า จึงนำไปสู่การตัดสินใจเน้นการผลิตท่อไอเสียเพียงผลิตภัณฑ์เดียว
เพียงต้นปี1990ธุรกิจเริ่มไปได้ดี
ต้องยอมรับในความรู้ลึกของอิกเกอร์ในด้านเครื่องยนต์ เทคนิคและวัสดุต่างๆ
สลาฟโก้จำได้ว่า
“ ผมเริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ช่วยอิกเกอร์ เขาทำทุกอย่างด้วยตัวเขาเองอย่างดีเยี่ยม
ตั้งแต่รื้อและประกอบเครื่องยนต์ เปลี่ยนบ่าวาวล์ และอื่นๆ แม้แต่ขี่ทดสอบรถด้วยตัวเอง
มีเพียงการเชื่อมเท่านั้นที่เขาไม่ได้ทำ”
พวกเขาใช้ท่อรูปทรงใหม่
ขนาดท่อแตกต่างจากที่ผลิตกันทั่วไป เน้นการใช้ท่อสแตนเลส ไททาเนียมและคาร์บอนไฟเบอร์ที่มีความขนาดความหนาแบบบางเป็นวัตถุดิบในการผลิต
ด้วยความชาญฉลาดของเขา
อิกเกอร์ได้เชื้อเชิญ บริษัทคาวาซากิ เยอรมัน ให้ทดสอบระบบท่อไอเสียของเขา
ทีมทดสอบของคาวาซากิพบว่าระบบของเขาดีกว่าท่อติดรถจากโรงงานเสียอีก อิกเกอร์รำลึกถึงฉากความสำเร็จในสนามแข่งระหว่างประเทศครั้งนั้นได้
“ ครั้งแรกที โจเช่น ชมิดท์ ขับคาวาซากิ เยอรมัน
ทดลองติดตั้งระบบท่อไอเสียของผม ในการแข่งขันรายการ ชิงแชมป์ซุปเปอร์ไบท์มืออาชีพเมื่อปี1993
พวกเขาพอใจมาก ในปี1994 ชมิดท์ เริ่มต้นจุดสตาร์ทได้อย่างวิเศษ
ในรายการซุปเปอร์ไบท์ชิงแชมป์โลก เมื่อรถZXR750
ของเขาขับวนรอบสนามฮอกเก้นไฮม์ได้เร็วกว่ารถจากโรงงานเสียอีก
ฝ่ายญี่ปุ่นกระตือรือล้น ต้องการหาคำตอบว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น จึงได้ขอตัวอย่างท่อไปทดสอบอีก
พวกเขาพอใจกับผลการทดสอบ เมื่อฮารัล เอ็ก เป็นผู้จัดการทีมแข่งกรีน
ในรายการแข่งขันชิงแชมป์โลก เขาต้องการใช้ระบบท่อไอเสียของเราทางญี่ปุ่นก็อนุญาตให้ใช้ได้
ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก ไม่ถึง2ปีหลังจานั้น
ผู้ผลิตรถญี่ปุ่นทุกโรงงานต่างใช้ระบบท่อไอเสียของเราในการเข้าชิงชัยในรายการซุปเปอร์ไบท์ชิงแชมป์โลก
นั่นคือสิ่งที่ช่วยในการผลักดันความรับรู้ในแบรนด์ของเราเป็นอย่างมาก “
นั่นคือจุดเริ่มต้นของบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งยวดในเวลาต่อมา
จากทีมซุปเปอร์ไบท์มืออาชีพในประเทศเยอรมัน ท่ออะ-แครป-โอ-วิชก็รุกเข้าไปยึดหัวหาดทีมแข่งมอเตอร์ไซด์ซุปเปอร์ไบท์ทั่วโลก
แม้แต่บรรดาผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซด์ของญี่ปุ่นทุกยี่ห้อต่าง ก็ยังใช้ระบบไอเสียของอะ-แครป-โอ-วิชในช่วงฤดูกาลแข่งขันรถมอเตอร์ไซด์ซุปเปอร์ไบท์ชิงแชมป์โลกในปี1999
อิกเกอร์อธิบายว่า
“ โลโก้ที่ติดอยู่บนท่อไอเสียบ่งบอกว่ารถคันนั้นใช้ท่อของเรา” เพราะมันช่วยพูดให้เราเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับท่อนี้ว่าไม่ใช่ท่อที่ติดมาจากโรงงานผลิตรถ
ถ้าจะมีการเปรียบเทียบกันในบรรดาผู้ผลิตระบบท่อไอเสียทั้งหลายแล้ว
โยชิมูระ น่าจะเป็นแบรนด์ที่เทียบเคียงกันได้กับแบรนด์อะ-แครป-โอ-วิช
นักปรับแต่งเครื่องยนต์ระดับตำนานอย่างโยชิมูระและฟูจิโอะลูกชายสร้างสรรค์สินค้าระดับคุณภาพสูง
คล้ายกับอะ-แครป-โอ-วิช ที่เน้นคุณภาพของสินค้าเพราะเขามีพื้นฐานจากการปรับแต่งเครื่องยนต์เหมือนกัน
ความเนี้ยบของระบบท่อไอเสียของเขาจึงไม่เป็นสองรองใคร
ท่อสกอร์เปี้ยนแบรนด์แรก
ก่อนมาเปลี่ยนเป็นอะ-แครป-โอ-วิช
อิกเกอร์นั้นเหมือนกับโยชิมูระที่ติดตั้ง
แผ่นชื่อสินค้าของเขาบนตัวสินค้า เดิมท่อของเขาชื่อว่าสกอร์เปี้ยน(Scorpion) ในช่วงเจ็ดปีแรกของการเปิดบริษัท แต่เพราะบริษัทรถยนต์ฟอร์ดได้ฟ้องร้องไม่ให้เขาใช้ชื่อนี้เนื่องจากฟอร์ดได้แนะนำรถรุ่นสกอร์ปิโอ(Scorpio) เปิดตัวในช่วงนั้น
ซึ่งฟอร์ดอ้างว่าจะมีผลต่อการขายรถรุ่นนั้น ถึงการออกเสียงจะไม่เหมือนกันก็ตาม เขาจึงจำต้องเปลี่ยนจากชื่อสกอร์เปี้ยนมาเป็นอะ-แครป-โอ-วิช(Akarpovic)นามสกุลของเขาเองที่มีความหมายว่าสกอร์เปี้ยนในภาษาอังกฤษเช่นกัน ตั้งแต่ปี1997เป็นต้นมา และได้รับการยอมรับในแบรนด์ใหม่นี้อย่างรวดเร็ว
ในปี2000ท่อแต่งอแครป-โอ-วิช
ได้รับการติดตั้งให้กับรถมอเตอร์ไซดฮอนด้า เอสพี-01ซึ่งขับขี่โดยโคริน เอ็ดเวิอร์ด
ได้คว้แชมป์โลกการแข่งขันไปครอง
ชื่อเสียงในครั้งนั้นนำไปสู่การยอมรับในสนามแข่งขันระดับโลก มีการขยายการผลิตท่อแต่งให้ครอบคลุมถึงรถทุกประเภทรวมถึงรถสกูตเตอร์ขนาดเครื่องยนต์125ซีซีขึ้นไป
อิกเกอร์
ย้อนอดีตว่า “ สำหรับรถฮอนด้าVTR1000ของโคริน เราพัฒนาแบบระบบท่อไอเสียด้วยกันถึง54ระบบที่แตกต่างกันใช้เวลามากกว่า3ปี
ฮอนด้าจึงอนุมัติให้ใช้ได้ เราทุ่มพัฒนาอย่างมากมายในปี1999 2000และ2001
มันเป็นงานหินและใช้จ่ายสูง แต่เราก็ได้เรียนรู้อย่างมากเช่นกัน ผลจากงานนี้ทำให้เราสบายมากกับเครื่องสูบคู่”
ปี2002
บริษัทย้ายสำนักงานจากบ้านที่คับแคบเกินไป ไปยังโรงงานใหม่รูปแบบทันสมัยมาก มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น75,000ตารางฟุต
ตั้งอยู่ในเมืองเล็กๆชื่ออีวานนา โกริกา ซึ่งใช้เวลาเดินทางประมาณ45นาฑีไปทางตอนใต้ของนครลูบบิยานา
เมืองหลวงของสโลวีเนีย อาคารโรงงานแห่งใหม่ออกแบบโดยภรรยาของอิกเกอร์
ซึ่งเป็นสถาปนิกระดับทอปคนหนึ่งของสโลเวเนีย ใครที่เพิ่งเข้าไปโรงงานใหม่เป็นครั้งแรก อาจจะคิดว่าใช่โรงงานหรือเพราะรูปทรงของอาคารคล้ายกับเป็นอาคารขององค์การน่าซ่า
ไม่เห็นป้ายชื่อโรงงานเลย อิกเกอร์ ยิ้มและตอบว่า “ไม่ใช่ผม ภรรยาผมเป็นผู้รับผิดชอบ
เธอเป็นสถาปนิก”
ฮอนด้า VTR1000 SP-2
ตัวอาคารติดแอร์
พื้นไม้ เดินเข้าไปจะไปจะเห็นโซฟาสีแดงสดุดตาตั้งอยู่ ตรงผนังด้านหนึ่งจะมเห็นรถแข่งฮอนด้า
รุ่นVTR1000 SP-2 ซึ่งโคอริน
เอ็ดเวิดใช้แข่งและคว้าแชมป์โลกในการแข่งขันชิงแชมป์โลกซุปเปอร์ไบท์ ปี2000
และเป็นครั้งแรกที่ระบบท่อไอเสียของชาวสโลเวเนียที่ได้มีส่วนในชัยชนะระดับโลกอันเป็นประวัติศาสตร์นี้
พนักงานมีด้วยกันทั้งสิ้น
700คน ผลิตท่อไอเสีย100.000ท่อ/ปี ประมาณ60% ของระบบไอเสียแบบครบชุดใช้วัสดุไทเทเนียมเป็นวัตถุดิบ ไทเทเนียมมีน้ำหนักเบากว่าสเตนเลส 45% สำหรับไทเทเนียมรุ่นใหม่ล่าสุดมีความทนทานเทียบได้กับสเตนเลสเพราะใช้ส่วนผสมอัลลอยส์
ซึ่งเป็นผลผลิตของบริษัทโกเบ สตีลแห่งประเทศญี่ปุ่น
ทีมแข่งชื่นชอบปลายท่อไทเทเนียมหรือไม่ก็คาร์บอนไฟเบอร์
เพราะคาร์บอนไฟเบอร์เบากว่าไทเทเนียมขนาดความบาง.5มม ที่เราใช้หุ้มปลายท่ออยู่5%
บริษัทเป็นบริษัทเดียวในโลกในการผลิตท่อไทเทเนียมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง18-85มม.โดยมีขนาดความบาง0.8-0.9มม.
การลงทุนครั้งนี้เป็นการลงทุนขนดใหญ่แต่ก็เป็นประโยชน์กับบริษัทอย่างมาก
เนื่องจากทำให้สามารถควบคุมคุณภาพของท่อและการสต๊อคท่อโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ส่งมอบวัตถุดิบจากภายนอก
การลงทุนในเครื่องจักรใหม่และแรงงานที่จะสร้างเสริมให้เป็นบริษัทที่ผลิตระบบท่อไอเสียที่ดีที่สุดในโลก
นอกจาการลงทุนเครื่องจักรผลิตท่อแล้ว ยังลงทุนในเครื่องงอท่อด้วยระบบน้ำความแรงสูง
จากบริษัทแอดดิสัน ประเทศอังกฤษ การงอท่อไทเทเนียมด้วยเครื่องงอท่อด้วยระบบนี้ยังไม่มีใครใช้มาก่อน
เครื่องนี้ข่วยให้การงอท่อตามสั่งได้หลายรูปแบบ
ทำให้การออกแบบท่อมีความยืดหยุ่นและออกแบบให้มีสมรรถนะมากขึ้น
ยกตัวอย่างชิ้นส่วนของรถคาวาซากิที่มีชิ้นส่วนที่แตกต่างกันทั้งสิ้น190ชิ้น
เราใช้เครื่องจักรนี้ในการผลิต โดยใช้ช่างฝีมือในการประกอบชิ้นส่วนเหล่านี้ด้วยการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
แล้วเก็บข้อมูลทั้งหมดในคอมพิวเตอร์ หากลูกค้าเกิดความเสียหายชิ้นไหนก็สามารถสั่งซื้อชิ้นนั้นได้
และสามารถประกอบกันเข้าได้อย่างแนบเนียน
นี่คือเหตุผลว่าทำไมระบบท่อไอเสียของอะ-แครป-โอ-วิขจึงราคาแพง
เครื่องทดสอบท่อไอเสีย(Super Flow Dyno Cell)
ฝ่ายวิจัยและพัฒนาของอะ-แครป-โอ-วิช
มีทีมวิศวกรทั้งสิ้น26คน ภายใต้การกำหนดทิศทางของสลาฟโก้ มือขวาของอิกเกอร์ มีเครื่องทดสอบท่อไอเสีย3เครื่อง
2เครื่องใช้ทดสอบรถมอเตอร์ไซด์ อีก1เครื่องสำหรับทดสอบรถยนต์ หากความชื้นเปลี่ยนแปลงหรือความดันอากาศเปลี่ยนไปจะมีผลกระทบกับสมรรถนะของระบบท่อไอเสียได้
อาจต้องสูญเสียกำลังแรงม้า19%จากการผันแปรของคุณภาพของอากาศและผู้ที่ขับขี่รถ
เขาอาจรู้สึกได้ถึงการตอบสนองของคันเร่งซึ่งเป็นเรื่องที่วัดได้ยากมาก
ฉะนั้นประสบการณ์ของผู้ขับขี่ที่สะท้อนกลับมาล้วนแล้วแต่เป็นส่วนของการวิจัยและพัฒนา
และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทีมที่เข้าแข่งโมโตจีพีหลายทีมส่งรถเข้าไปที่โรงงานเพื่อให้เลือกท่อต้นแบบที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ที่ยังไม่ติดเครื่องมาก่อนส่งเข้าโรงงาน
เมื่อวิศวกรจากฝ่ายการแข่งขันได้รับเครื่องยนต์ที่ใช้แข่งจริง
แล้วพัฒนาต้นแบบท่อให้เหมาะสม
จากนั้นจึงผ่านการทดสอบและอาจต้องผ่านเครื่องทดสอบถึง200ครั้ง
วิศวกรจะเลือกระบบที่เหมาะสมให้กับนักแข่งและเป็นระบบที่วิศวกรคิดว่านักแข่งควรใช้
นักแข่งเหล่านี้เคี่ยวมากแต่ก็จ่ายดี
สลาพโก้กล่าวว่า “การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถคำนวณกำลังรถที่ผลิตออกมาได้
ยังใช้ได้ดีแต่ไม่เพียงพอ เราพบจากการทำงานร่วมกับฮอนด้าว่า
แม้แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับรถฟอร์มูล่า1ที่สามารถคำนวณการไหลเวียนของแกสได้ก็ยังทำได้เพียง95% ของระบบอุดมคติที่ต้องการเท่านั้น อีก5%ที่เหลือเกิดจากฝีมือการปรับแต่งผ่านการใช้เครื่องทดสอบโดยพนักงานทดสอบเครื่องที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ”
ความเข้มงวดกวดขันในเรื่องของมลพิษและเสียงตามมาตรฐานยูโร3
ในทวีปยุโรป ทำให้อะ-แครป-โอ-วิช พัฒนาระบบท่อไอเสียที่ใช้ตัวฟอกไอเสีย
ด้วยการเคลือบคุณภาพสูงและพิถีพิถันในการผลิตอย่างยิ่ง แต่การลดมลภาวะเพื่อให้ผ่านการทดสอบมาตรฐานได้ฉลุยนั้น
ก็ต้องแลกกับการที่ต้องสูญเสียคุณสมบัติบางอย่างไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูญเสียกำลังอัด
กำลังสูงสุดอาจมีผลกระทบบ้างแต่ส่วนใหญ่จะกระทบกับกำลังอัดมากกว่า ด้วยเหตุนี้อะแครป-โอ-วิช
จึงเลือกใช้ตัวฟอกไอเสียแบบใช้แกนรองรับเป็นเหล็กกล้าแทนแกนรองที่เป็นเซรามิคซึ่งทำงานยากและมีกำลังจำกัด จึงทำให้สามารถรักษากำลังอัดไว้ได้
รถเอ็นดูโรและโมโตครอสก็มีปัญหาในเรื่องของเสียงเหมือนกับยามาฮ่า
อาร์6และซูซูกิ จีเอสเอ็กซ์-อาร์1000 ที่มีปลายท่อสั้นใต้ท้องรถ
มีการทดสอบหลายต่อหลายเที่ยวเพื่อแก้ปัญหาเสียงโดยไม่กระทบกับกำลังของเครื่องยนต์ ปัญหาพบว่าอยู่ที่ตัวเฮดเดอร์ไม่ใช่ปลายท่ออย่างที่มีการคาดกัน
อะ-แครป-โอ-วิชทำงานร่วมกับผู้ผลิตมอเตอร์ไซด์บางโรงงานในการแก้ปัญหามลพิษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอปพิลเลีย บีเอ็มดับเบิ้ลยูและเคทีเอ็ม
แต่ก็ไม่มีใครใช้ท่ออะ-แครป-โด-วิช เป็นอุปกรณ์ติดรถออกจากโรงงานเลย เพราะว่าระบบท่อไอเสียของอะ-แครป-โอ-วิชราคาแพงสำหรับเป็นอุปกรณ์ติดรถจากโรงงาน
แต่โรงงานเหล่านี้ก็สั่งซื้อท่ออะ-แครป-โอ-วิชไปขายเป็นอุปกรณ์แต่งในตลาดทดแทนซึ่งสร้างรายได้ให้กับโรงงานต่างๆเป็นอย่างดี
“อะ-แครป-โอ-วิช
ไม่มีนโยบายขยายไปต่างประเทศหรือที่อื่นใด เพื่อทำให้ต้นทุนต่ำลง นอกจากในสโลวีเนียเท่านั้น
หากต้องขยายไปจีนหรือบางประเทศ จะเป็นเรื่องยากในการควบคุมคุณภาพ
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับเรา” สลาพโก้กล่าว
ปี2004เป็นปีแห่งการรุกเข้าสู่ท่อแต่งสำหรับรถยนต์แข่งฟอร์มูล่า1
และตลาดรถหรูอย่างแลมโบกินี่ กัลลาร์โด และออดี้ อาร์-8
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการไม่หยุดยั้งในการพัฒนาระบบท่อไอเสียก็คือ
ได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
นั่นหมายความว่าระบบท่อไอเสียจะต้องพัฒนาตามไปด้วย ต้องออกแบบให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ขับขี่รถ
ทีมแข่งบางครั้งก็ใช้ระบบท่อไอเสียแตกต่างกัน
บางคนต้องการกำลังอัดสูงขณะที่อีกทีมต้องการสมรรถะแบบสุดๆ อิกเกอร์เสริมเรื่องนี้ว่า” มันก็เหมือนกับตารางเส้นโค้งสมรรถนะ
ว่าสามารถปรับได้ที่ตัวระบบท่อไอเสีย อย่างน้อยที่สุดเราก็มีประสบการณ์ในเรื่องนี้
ถึงตารางเส้นโค้งสมรรถนะจะออกมาว่าสมบูรณ์
แต่ผู้ขับขี่ก็ยังรู้สึกว่าไม่ใช่เมื่อเขาบิดคันเร่ง บางคนรู้สึกว่าระบบนี้ควบคุมง่ายและตอบสนองการเร่งได้ดีกว่าเมื่ออยู่ในสถิติระดับเดียวกัน
มันเป็นเรื่องของความรู้สึกล้วนๆ จึงต้องมีทีมงานชั้นยอดเพื่อการพัฒนา
เป็นทีมที่มีประสบการณ์สูง เสียสละอย่างมากในงานของเขา”
KTM เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนกับอะแครป-โอ-วิชในปี1999
โดยเริ่มจากรถรุ่น ซุปเปอร์โมโต แล้วขยายไปในรุ่นที่ใช้ขับขี่ไปถนนไปจนถึงรถทางฝุ่น รุ่นRC8 ซุปเปอร์ไบท์เป็นรุ่นที่ใช้ระบบเครื่องยนต์ที่ซับซ้อนเพราะใต้ท้องรถลดความร้อนได้ยากจึงต้องหาวัสดุใหม่มาใช้
ข้อเท็จจริงง่ายๆก็คือ เครื่องยนต์แต่ละแบบมีลักษณะเฉพาะของมันซึ่งจำต้องนำมาพิจารณาอย่างละเอียด
ในกรณีของรถแข่งKTM Moto3 มีการเปลี่ยนท่อ จากท่อเดี่ยวโดยออกแบบเป็นท่อรูปทรงแตรคู่ซึ่งทำให้รีดสมรรถนะได้ดีขึ้น
เครื่องยนต์สูบเดี่ยวตอบสนองได้ดีเยี่ยม มันปรับแต่งได้ง่ายในสนามแข่ง
เพราะความดังของเสียงไม่เป็นปัญหา แต่สำหรับรถแข่งทางฝุ่นเป็นคนละเรื่องกันเสียงเพิ่มอีกเพียง2หรือ3เดซิเบลกลับเป็นเรื่องท้าทายกว่า
ยิ่งในเรื่องของกำลังอัดและการตอบสนองของเครื่องยนต์มากกว่าการเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์
เพราะการเพิ่มกำลังอัดแต่ก็ต้องลดเสียงให้เบาลงด้วยคือปัญหาใหญ่
อิกเกอร์กล่าวว่า
“ เราพยายามนำเสนอการแก้ปัญหาทางด้านเทคนิคให้กับลูกค้าของเราอย่างดีที่สุด
ไม่ใช่ในเรื่องของการออกแบบหรือวัสดุที่ใช้เท่านั้น
แต่ยังรวมถึงความเนี้ยบของช่างฝีมือและคุณภาพโดยทั่วไปอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นระบบท่อที่ขายในตลาดทั่วไปหรือที่ส่งให้กับทีมแข่งล้วนแล้วแต่ใช้มาตรฐานเดียวกัน”
ถึงจะเป็นบริษัทที่มีลูกค้าทั้งผู้ผลิตมอเตอร์ไซด์ในยุโรปและญี่ปุ่น
แต่อิกเกอร์ก็บริหารจัดการได้อย่างดีโดยการรักษาความลับของแต่ละโรงงานไว้อย่างเข้มงวดไม่แพร่งพรายให้รายใดรายหนึ่งรู้ความลับของอีกรายหนึ่ง
อิกเกอร์อธิบายประเด็นนี้ว่า “ ผมโชคดีที่บริหารเรื่องเหล่านี้ได้ดีมาหลายปี
เราเข้มงวดกวดขันและแบ่งเขตแดนกันชัดเจน ไม่แบ่งปันความลับให้แก่หุ้นส่วน
พวกเขาทราบดีว่าเชื่อใจผมได้ ขอบคุณสำหรับความเป็นผู้เชี่ยวชาญของพวกเรา
เราช่วยลูกค้าของเราในการแก้ปัญหาเรื่องสมรรถนะแต่ก็เท่านั้น นอกเหนือจากนั้นพวกเขาก็ไปดำเนินการต่อกันเอง”
มีนักข่าวถามว่าตอนนี้อิกเกอร์ยังขับรถมอเตอร์ไซด์อยู่หรือไม่
เจ้าพ่อระบบท่อไอเสียตอบว่า “ ผมขับ ดูกาติ
เดียเวลมา3ปีแล้ว เพราะโรงงานย้ายไปอยู่ที่ใหม่ผมจึงหยุดการขับขี่ไปได้สักพักแล้ว”ช่วงที่ยังเป็นนักแข่งเขาไม่เคยบาดเจ็บอย่างรุนแรงเลยในระยะ
7ปี
แต่เมื่อขับขี่ครั้งหนึ่งไปกับลูกสาววัยสี่ขวบเขาบาดเจ็บสาหัส
และได้รับการผ่าตัด และเข้าสู่สภาพปกติในเวลาต่อมา
ปลายท่อทรงหกเลี่ยม
บริษัทอะ-แครป-โอ-วิช
ครบรอบก่อตั้ง25ปีเมื่อปี2015 ยอดขายพุ่งพรวดตลอดในแต่ละปี บริษัททุ่มเงินเป็นล้านในการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
สร้างนวัตกรรมใหม่ๆไม่ขาดสาย
โดยเฉพาะการปฏิวัติรูปทรงท่อแบบหกเหลี่ยมเมื่อหลายปีที่ผ่านมา
การออกแบบให้มีรูปทรงหกเหลี่ยมได้นำไปแสดงในงานIntermot 2015 ด้วยรูปทรงที่มีความโค้งงอ
อัตราการไหลของอากาศจึงเทียบได้กับท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากัน
สายการผลิตระบบท่อไอเสียรถยนต์กำลังขยับขยาย
อนาคตดูสดใส อิกเกอร์กล่าวว่า “ผมเชื่อมั่นว่าธุรกิจมอเตอร์ไซด์ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
เราจึงต้องทำงานร่วมกับทีมแข่ง โมโตจีพีอย่างต่อเนื่อง
ทั้งรถซุปเปอร์ไบท์และรถทางฝุ่น มันทำให้เราได้เรียนรู้
ทดสอบเทคโลโลยี่ที่แตกต่างและเก็บเกี่ยวประสบการณ์
ความช่ำชองในกีฬาการแข่งขันเป็นสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์สำหรับไปปรับใช้กับรถใช้ขับขี่ทั่วไป
“ การแข่งขันเป็นสิ่งสำคัญและเป็นความหลงไหลอย่างจริงจังของผมตลอดมา
ก่อนการก่อตั้งบริษัทและโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากนั้นมา คู่แข่งขันบางคนไล่ตามกลยุทธ์ของคู่แข่งอื่นและทุ่มเงินไปกับการโฆษณาหรือให้การสนับสนุนทีมเพื่อส่งสารเผยแพร่ออกไป
แต่นั่นไม่ใช่แนวทางการทำงาน
เราใช้ความพยายามเพื่อสร้างสรรค์ระบบท่อไอเสียที่บรรลุถึงขีดสุดในทุกด้าน
ใช้มันในการแข่งขันและนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับรถมอเตอร์ไซด์มาตรฐานที่ใช้บนท้องถนนทั่วไป
ชัยชนะและความสำเร็จที่ได้รับการยอมรับทำให้แบรนด์ของเราเป็นแบรนด์มีระดับและช่วยกระตุ้นธุรกิจของเรา
ถ้าปราศจากการแข่งขันเสียแล้ว อะ-แครป-โอ-วิช คงไม่เป็นอย่างทุกวันนี้”
ผลิตภัณฑ์
ประเทศสโลวีเนีย
ประเทศสโลวีเนีย
(อังกฤษ: Slovenia; สโลวีเนีย: Slovenija) ชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสโลวีเนีย
(อังกฤษ: Republic of
Slovenia; สโลวีเนีย: Republika Slovenija) เป็นประเทศบนชายฝั่งทางใต้ของเทือกเขาแอลป์
ในยุโรปกลางตอนใต้ มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดอิตาลี
ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลเอเดรียติก ทางใต้และตะวันออกจรดโครเอเชีย
ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดฮังการี และทางเหนือจรดออสเตรีย มีเมืองหลวงชื่อ
ลูบบิยาน่า ประชากร2 ล้านคน (พ.ศ. 2546) เป็นชาวสโลวีน ร้อยละ 92 ชาวโครอัต ร้อยละ
1 ชาวเซิร์บ บอสเนีย ฮังกาเรียน และอื่นๆ
สโลวีเนียเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรยูโกสลาเวียจนถึง
พ.ศ. 2488 และเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียตั้งแต่
พ.ศ. 2488 จนได้รับเอกราชเมื่อพ.ศ. 2534 และได้กลายเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป เมื่อ
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของคณะมนตรียุโรป (Council of Europe) นาโต (NATO) และเป็นผู้สังเกตการณ์ในองค์กรภาษาฝรั่งเศส
(La Francophonie)
จากวิกิพีเดีย
ประเทศสโลวีเนีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น