วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Siddhartha Lal กรรมการผู้จัดการและซีอีโอ “Royal Enfield”

บุรุษผู้พลิกฟื้น รอยัล เอ็นฟิลด์

Siddhartha Lal
สิทธัตถะ ลาล เป็นบุตรของ วิกราม ลาล เจ้าของบริษัทไอซ์เชอร์(Eicher Motors Ltd)ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทRoyal Enfield อินเดีย เขาเข้าศึกษาทางด้านวิศวเครื่องกลจาก มหาวิทยาลัย Cranfield และจบปริญญาโท สาขาวิศวยานยนต์จากมหาวิทยาลัย Leedsในประเทศอังกฤษ




เมื่อปี2000ขณะอายุเพียง26ปี เขาเข้ารับผิดชอบบริษัทRoyal Enfieldในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร  ในปี2006 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของไอซ์เชอร์ ปัจุบันเขาอายุ42ปี(ปี2016)

รอยัลเอ็นฟิลด์ถือว่าเป็นรถที่ได้รับความนิยมชมชอบสุดสุดในประเทศอินเดียทุกวันนี้  เริ่มครองใจคนอินเดียมาตั้งแต่เริ่มต้น จุดประสงค์แรกที่เข้ามาเพื่อใช้ในกองทัพอินเดียในการตรวจตราเส้นทาง ปัจจุบันรถแบรนด์นี้เป็นที่นิยมขับขี่เพื่อการท่องเที่ยวของบรรดาวัยรุ่นทั้งหลาย แต่ถ้าย้อนหลังกลับไปอีกหนึ่งทศวรรษ กลับไม่ใช่ทางเลือกแรกๆของบรรดาวัยรุ่นที่ชอบรถที่มีสไตล์และเป็นมันวาวเพื่อใช้ขี่ท่องเที่ยวหรือไว้ใช้ไปเรียนหนังสือ

10กว่าปีให้หลังมานี้ รอยัลเอ็นดิ้นรนอย่างขนานใหญ่จากวิกฤติเรื่องภาพลักษณ์ เนื่องจากยอดขายลดลงและถึงกับต้องปิดโชว์รูม ลาลต้องตัดสินใจว่าจะคงธุรกิจในเครือ13บริษัทเอาไว้แล้วปิดรอยัลเอ็นฟิลด์ เขาตัดสินใจเลิก13ธุรกิจในกลุ่มแล้วพุ่งความสนใจไปที่รอยัลเอ็นฟิลด์และธุรกิจรถบรรทุกโวลโว เขาเคยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ Economic Times ว่าในความดิดของผมคำถามพื้นๆก็คือเราต้องการเป็นผู้เล่นกระจอกในธุรกิจขนาดเล็ก15ธุรกิจหรือต้องการเป็นหนึ่งเพียงหนึ่งหรือสองธุรกิจหละหลังการตัดสินใจในครั้งนั้น ต่อจากนั้นมันจึงได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ที่เหลือ


เขาพุ่งความสนใจไปที่รอยัลเอ็นฟิลด์เป็นอันดับแรก ปล่อยธุรกิจรถบรรทุกไว้ก่อน ลาลเริ่มงานทางด้านวิศวกรรมและการปรับปรุงรถโดยการขับทดสอบด้วยตนเองนับพันกิโล เขาริเริ่มสร้างวัฒนธรรมการขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ให้กับทีมของเขา เขามักอยู่แถวหน้าเสมอ เขาพกเอาความหลงไหลและลงลุยงานอย่างจริงจัง เขาสัมผัสได้อย่างลึกซึ้งถึงความแตกต่างระหว่างรถเอ็นฟิลด์กับรถแบรนด์อื่นๆ

เขาปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของรอยัลเอ็นฟิลด์และพัฒนาคุณภาพจนกลายเป็นผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมรถมอเตอร์ไซด์อินเดีย กลยุทธ์การตลาดแบบการเป็นสปอนเซอร์ให้กับรถประเภทต่างๆถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้น ไม่ว่าทีมจักรยานภูเขา  การขับขี่ข้ามประเทศ  กลยุทธ์เหล่านี้ได้ช่วยขยายโครงข่ายไปทั่วประเทศได้อย่างรวดเร็ว

ด้วยการใช้เทคนิคการตลาดที่ลงตัวและการสร้างความรักในหมู่วัยรุ่น รอยัลเอ็นฟิลด์ กลายเป็นองค์ประกอบที่สร้างความสำเร็จให้กับกลุ่มบริษัทไอซ์เชอร์ มอเตอร์มากที่สุดในทุกวันนี้  ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นั้นต้องมอบให้กับสิทธัตถะ ลาล ผู้พลิกฟื้นภาพลักษณ์ของแบรนด์  บุรุษผู้พัฒนาวัฒนธรรมความรักในการขับขี่มอเตอร์ไซด์ให้กับทีมของเขาและสร้างแรงจูงใจให้พวกเขาเดินทางและเชื่อมโยงกับแบรนด์  แบรนด์รอยัลเอ็นฟิลด์คือมรดกตกทอดอันยิ่งใหญ่ ที่ลาล ในฐานะสถาปนิกผู้สร้างแบรนด์นี้ขึ้นมาจากเศษซาก

ลาลกำลังเปลี่ยนเกียร์และขับไปสู่ตลาดโลกต่อไป ตอนนี้เขาส่งออกปีละ6,000คัน แต่เขาเชื่อว่ายอดต้องมากกว่านี้ในทศวรรษหน้า เขากำลังวางยุทธศาสตร์เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้

เขาปรับโฉมทีมงานใหม่ดึงมืออาชีพเข้ามาร่วมงานเพื่อผลักดันความฝัน Rod Copes ผู้จัดการฮาร์เลย์ เดวิดสันเดิม มาดำรงตำแหน่งประธานบริษัทของบริษัทในอเมริการเหนือ ดึงPierre Terblanche จากหัวหน้าทีมออกแบบอุตสาหกรรมของดูกาติ  ดึงJames Young ฝ่ายเครื่องยนต์จากไทรอัมพ์ ดึงSimon Warburton ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์จากไทรอัมพ์  Mark WellsและIan Wride ทั้งสองดูแลรุ่นEnfield Classic และContinental GT  ร่วมกับสำนักออกแบบ Xenophya ในศูนย์รอยัลเอ็นฟิลด์ ในประเทศอังกฤษ ลาลตระหนักเป็นอย่างดีว่าการตลาดที่ดีนั้นมีความสำคัญเทียบเท่ากับวิศวกกรรมที่ดี เขาจึงจ้าง Rudratej Singh จากยูนิลีเวอร์มาเป็นประธานบริษัทในปี2015


ลาลได้รับแรงบันดาลใจมาจากแบรนด์ระดับโลก นั่นคือแบรนด์Mini Coperและ Porsche ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีความเฉพาะเจาะจงอย่างมากและมีความตระหนักถึงความเข้มข้นของดีเอ็นเอหลัก
เมื่อลาลยังเป็นนักศึกษาอยู่ในอังกฤษในปี1990 รถยนต์ขนาดเล็กในเวลานั้นออกแบบแย่มากเมื่อเทียบกับรถขนาดกลางและขนาดใหญ่ แต่เมื่อแบรนด์มินิปรากฎโฉมออกมา มันได้เปลี่ยนวิธีคิดไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง และทำให้เป็นรถน่าขับ ขับแล้วสนุก นั่นคือซิ่งที่ผมอยากให้รอยัลเอ็นฟิลด์เป็นเช่นนั้นบ้างที่ทำให้รถขนาดกลางขับแล้วสนุก แต่ยังคงไว้ซึ่งดีเอ็นเอเดิมอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น