วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

Royal Enfield: ประวัติมอเตอร์ไซด์รอยัล เอ็นฟิลด์ 1

รถมอเตอร์ไซด์รอยัล เอ็นฟิลด์







แบรนด์รอยัลเอ็นฟิลด์เป็นแบรนด์ของบริษัทเอ็นฟิลด์ไซเคิล(The Enfield Cycle Company)บริษัททางด้านวิศวกรรมของประเทศอังกฤษ มีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการผลิตมอเตอร์ไซด์ รวมทั้งยังผลิตรถจักรยาน เครื่องตัดหญ้า เครื่องยนต์แบบตั้งอยู่กับที่(Stationary Engines)และแม้แต่การผลิตชิ้นส่วนปืนไรเฟิลส่งให้กับโรงงานผลิตอาวุธขนาดเล็กในเมืองเอ็นฟิลด์ การที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโรงงานผลิตอาวุธได้สะท้อนออกมาในโลโก้ของบริษัท เป็นรูปปืนใหญ่และ คำขวัญว่า”ผลิตดุจปืน ไปดุจกระสุน”(Made Like a Gun,goes like a bullet) และใช้แบรนด์รอยัลเอ็นฟิลด์ นับตั้งแต่ปี1890เป็นต้นมา

ในปี1955 เอ็นฟิลด์อินเดีย เริ่มประกอบรถรุ่นBullet ภายใต้ลิขสิทธิชิ้นส่วนจากประเทศอังกฤษและในปี1962 จึงได้ประกอบรถทั้งคัน บริษัทต้นกำเนิดในเมืองเรดดิทช์ วอร์เซสเตอร์ไชร์ได้ปิดตัวลงในปี1970 แต่รอยัลเอ็นฟิลด์ในอินเดีย ที่มีฐานผลิตที่เมืองเชนไน ยังคงเปิดดำเนินการต่อมา และซื้อสิทธิแบรนด์ รอยัลเอ็นฟิลด์ในปี1995  รอยัลเอ็นฟิลด์ยังคงดำเนินการผลิตต่อไปและปัจจุบันนี้ รอยัลเอ็นฟิลด์ถือว่าเป็นโรงงานผลิตมอเตอร์ไซด์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกซึ่งยังเปิดดำเนินการผลิตอยู่

วิวัฒนาการของรอยัลเอ็นฟิลด์(1851-1890)

ฮันท์เอ็น ในอิงแลนด์เป็นหมู่บ้านที่มีโรงงานผลิตเข็มและเบ็ดตกปลาขนาดเล็กอยู่มากมาย ในปี1851นักธุรกิจชื่อจอร์จ ทาวน์เซ็นด์ ตั้งโรงงานผลิตเข็มขึ้นที่นี่ โรงงานของเขาชื่อ “Girvy Works” หลังจากจอร์จ ทาวน์เซ็นด์เสียชีวิต ลูกชายจอร์จ จูเนียร์และญาติได้ซื้อโรงงานแห่งนี้และผลิตจักรยาน ที่ใช้โครงเหล็ก ล้อไม้คันถีบเป็นไม้ทรงสามเหลี่ยม เป็นรถขับขี่เล่นสนุกๆ  แต่จอร์จ จูเนียร์และทีมของเขารู้สึกว่าน่าจะมีการปรับปรุงให้ดีขี้นได้ไม่ยาก ปี1880ได้มีการผลิตจักรยาน2ล้อที่มีขนาดล้อเท่ากันเป็นจักรยานที่มีความปลอดภัยแบบทันสมัยยุคแรกๆ  โรงงานทั้งหลายรวมทั้งโรงงานของจอร์จ จูเนียร์ ก็เข้าร่วมในการผลิตนี้ด้วยเช่นกัน นับเป็นโชคของจอร์จ จูเนียร์ ที่เขาประดิษฐที่นั่งจักรยานที่ใช้ลวดเส้นเดียวขดเป็นสปริง2ตัว ซึ่งต่อมาได้จดลิขสิทธิและทำตลาดในชื่อของ Townsen Cyclist Saddle And  Spring  เขาได้หันไปจับธุรกิอะไหล่รถจักรยานแล้วค่อยๆเริ่มการผลิตจักรยานของตัวเอง จักรยานของเขามีชื่อเสียงในด้านโครงรถมีความแข็งแรงทนทานซึ่งเป็นแบบฉบับของรถเอ็นฟิลด์ในเวลาต่อมา บริษัทเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

เริ่มเป็นตัวเป็นตน(1891-1900)

ราวปี1890 ทาวน์เซ็นประสบปัญหาทางการเงิน เขาขอความช่วยเหลือจากนักการเงินในเบอร์มิงแฮม แต่ก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือ แต่นักการเงินกลับแต่งตั้งบริษัท R.W. Smith & Albert Eadie  เข้ามาควบคุมบริษัทในเดือนพฤศจิกายน ปี1891 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น The Eadie Manufacturing ในไม่ช้า อัลเบริตได้กำไรจากการเซ็นสัญญาการส่งมอบชิ้นส่วนปืนให้กับโรงงานผลิตอาวุธขนาดเล็ก ในเอ็นฟิลด์ แถบมิดเดิ้ลเซ็ก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการลงนามในสัญญาฉบับนี้ สมิทและอัลเบริตจึงตัดสินใจเรียกจักรยานที่ได้รับการออกแบบใหม่ว่า “เอ็นฟิลด์”  ได้มีการจัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อทำตลาดจักรยานรุ่นเอ็นฟิลด์ในชื่อว่าบริษัท The Enfield Manufacturing เมื่อเดือนตุลาคม 1892  ปีต่อมาจึงมีการเติมคำว่า Royalเข้ามาหน้าคำEnfield  นั่นคือจุดเริ่มต้นของคำว่า Royal Enfield เครื่องหมายการค้า “ผลิตดุจปืน”จึงปรากฎขึ้นในปี1893

พาหนะเริ่มแรกที่ใช้ชื่อรอยัล เอ็นฟิลด์ คือรถสี่ล้อ(Quadricycle)ติดตั้งเครื่องยนต์ของDe Dion-Bouton 2.75แรงม้า ซึ่งผลิตในปี 1898 ในปี1901มีการผลิตรถมอเตอร์ไซด์ขนาด150ซีซี 1.5แรงม้า โดยเครื่องยนต์ตั้งอยู่บนล้อหน้า ในปี1902รถแบบเดียวกันนี้ก็ได้ติดตั้งเครื่องยนต์ เอ็นฟิลด์ขนาด239ซีซี 2.75แรงม้า

ในปี1910 เป็นจุดเริ่มต้นของเครื่องยนต์วีคู่(V-Twin)ที่มีชื่อเสียงของเอ็นฟิลด์ เริ่มด้วยการใช้ ครื่องนต์Motosacoche 344ซีซี 2.75แรงม้า ภายหลังจึงได้เปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ผลิตเองของเอ็นฟิลด์ จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่1 จึงได้มีการใช้เครื่องยนต์วีคู่ขนาดใหญ่ของ J.A.P 770ซีซี 6แรงม้า หลังสงครามโลกครั้งที่1 เครื่องยนต์ขยับขนาดใหญ่ขึ้นไปอีกเป็นเครื่องยนต์ของ Vickers-Woseley ขนาด976ซีซี 8แรงม้า ในปี1915 เป็นครั้งแรกที่มีการใช้เครื่องยนต์2จังหวะขนาเล็ก225ซีซี โดยเริ่มใช้กับรุ่น 200 ปี1907 บริษัทได้รวมเข้ากับบริษัท Alldays & Onion ผลิตรถยนต์ในชื่อ “เอ็นฟิลด์ ออลเดย์ จวบจนกระทั่งถึงปี1925

สงครามโลกครั้งที่1(1911-1920)

สงครามโลกครั้งที่1เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี1914 รอยัลเอ็นฟิลด์ได้รับการร้องขอให้จัดส่งรถมอเตอร์ไซด์ให้กับกองทัพอังกฤษ ขณะเดียวกันก็ได้ทำสัญญาสร้างรถมอเตอร์ไซด์ให้กับกองทัพรัสเซียในช่วงเดียวกันอีกด้วย เอ็นฟิลด์เริ่มใช้เครื่องยนต์ของตนเองในการติดตั้งโดยเลือกใช้เครื่องยนต์เดี่ยว2จังหวะขนาด225ซีซีและขนาด425ซีซี แบบวีคู่ ในปี1915 เครื่องยนต์ต้นแบบ3สูบ2จังหวะถือเป็นการกำเนิดเครื่องยนต์แบบใหม่เป็นครั้งแรกในโลก 


เอ็นฟิลด์ยังได้ผลิตรถยนต์2ที่นั่ง ในชื่อThe Enfield Autolette .ในปี1914 โดยติดตั้งเครื่องยนต์4จังหวะ ขนาดลูกสูบ59X100มม. ขนาดเครื่อง1,093ซีซี ส่งกำลังขนาด9แรงม้า  นอกจากนั้นยังผลิตรถยนต์ทั้งสี่ที่นั่งที่ใช้เครื่องยนต์4จังหวะและรถยนต์2ที่นั่ง2จังหวะ จึงได้มีการจัดตั้งบริษัทThe Enfield Autocar ในเมืองเร็ดดิชท์ในปี1906เพื่อดูแลการจำหน่ายรถยนต์โดยเฉพาะ ในต้นศตวรรษที่20 บริษัทได้ย้ายไปที่สปาร์บรูก หลังจากบริษัท ออลเดย์ แอนด์ โอเนี่ยนเข้าครอบครองกิจการ

ยังมีต่อ


1 ความคิดเห็น:

  1. ชอบบิ๊กไบค์ค่ายนี้มากเลยครับ ไม่ว่าจะเป้นในส่วนของการออกแบบหรือเรื่องราวต่างๆ มอเตอร์ไซค์ค่ายนี้ มันยอดเยี่ยมไปเลย

    ตอบลบ