วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

Royal Enfield:ประวัติมอเตอร์ไซด์รอยัล เอ็นฟิลด์2





ระหว่างสงคราม(1921-1930)

รถมอเตอร์ไซด์พ่วงข้าง

ในช่วงสงครามรถมอเตอร์ไซด์พร้อมห้องโดยสารพ่วงข้าง(Sidecar)ได้รับความนิยมอย่างมาก ปี1924 Enfieldเปิดตัวรถสี่จังหวะ รุ่น WD/COขนาดเครื่องยนต์350ซีซี สูบเดี่ยว ใช้เครื่องยนต์ของJAP รูปทรงถือว่าทันสมัยในขณะนั้น ยอดขายขยับขี้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปี1930 ถึงแม้ว่าในขณะนั้นสถานะการณ์ทางเศรษฐกิจของอังกฤษจะอยู่ในช่วงตกต่ำอย่างสุดๆ ปี1927รอยัลเอ็นฟิลด์นำเสนอรถขนาด488ซี แบบ4เกียร์และเครื่องยนต์ขนาดใหม่225ซีซี วาวล์ข้างในปี2928 และนำเสนอรุ่น4จังหวะ สูบเดี่ยวออกมาในปี1931 เครื่องยนต์หลากหลายขนาดได้รับการผลิตออกมาในอีกทศวรรษต่อมา นับตั้งเครื่องยนต์ขนาดเล็ก 146ซีซีไปจนถึงเครื่องยนต์ลูกสูบคู่แบบV(V-Twin)ขนาดเครืองยนต์1140ซีซีในปี1937 ในปี1930 รอยัลเอ็นฟิลด์มีรถรุ่นต่างๆรวมกันถึง13รุ่น

สงครามโลกครั้งที่2 และการผลิตรถรุ่นBullet ทีโด่งดัง(1931-1940)

                                                                     รุ่นเห็บเหิรฟ้าหรือลอยมาจากฟากฟ้า 
    
                                                                                ขนาดเครื่องยนต์125ซีซี

ในระหว่างสงครมโลกครั้งที่2 บริษัทหันไปผลิตรถมอเตอร์ไซด์ป้อนให้กับกองทัพเพื่อใช้ในสงคราม มีรถรุ่นต่างๆหลากหลายรุ่นตั้งแต่รุ่นWD350ซีซี แบบวาวล์ด้านข้าง รุ่น WD/D250ซีซี วาวล์ด้านข้าง รุ่นWD/CO 350ซีซี แบบวาวล์เหนือฝาสูบ(Over head valves) รุ่นWD/L570ซีซี วาล์ด้านข้าง  รุ่นที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองก็หนีไม่พ้นรุ่นเห็บเหิรฟ้า(Flying Flea)หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ลอยมาจากฟากฟ้า(Airborne) รุ่นนี้เป็นรุ่นเครื่องยนต์ขนาดเล็ก 125ซีซี ใช้ติดร่มชูชีพส่งให้ทางเครื่องบินพร้อมหน่วยพลร่ม นอกจากนี้ บริษัทเอ็นฟิลด์ ไซเคิ้ลได้รับการร้องขอจากกองทัพให้ผลิตเครื่องไม้เครื่องมือพิเศษอีกหลากหลายอย่างเพื่อใช้ในการทำสงคราม ในปี1931 ได้มีการนำเสนอรถรุ่น4วาวล์ ลูกสูบเดี่ยว เครื่องวางเฉียง และตั้งชื่อว่ารุ่น Bullet ในปี1932  ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการปรากฏตัวของรุ่นBullet ที่มีชื่อเสียงจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

หลังสงคราม(1941-1950)
                                                               โช้คหน้าแบบเก่าไม่มีแรงหน่วง(Girder Forks) 
                                                                  โช้คหน้าแบบใหม่มีแรงหน่วง(Telescopic)

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ในปี1947 บริษัทหันกลับมาผลิตรุ่นJ ขนาดเครื่องยนต์500ซีซีอีกครั้ง โดยติดตั้งโช้คอัพหน้าแบบมีแรงหน่วง2ทาง(Telescopic) แทนที่โช้คหน้าแบบเก่าก่อนสงคราม(Girder Forks) รุ่นBullet350 สตาร์ทเท้า รุ่นหลังสงครามได้มีการติดตั้งกล่องเก็บของด้านท้าย2ใบเป็นครั้งแรก โช้คหน้าออกแบบใหม่และผลิตโดยรอยัล เอ็นฟิลด์ จึงส่งให้โรงงานที่เร็ดดิทช์อยู่แถวหน้าของการออกแบบรถมอเตอร์ไซด์ รถBullet.รุ่นใหม่ได้นำเสนอความก้าวหน้าอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการติดตั้งระบบรองรับแบบสวิงอาร์มพร้อมโช้คหลังและระบบแรงหน่วงไฮดรอลิคในตัว ในปี1949  รุ่น J2 ก็มีการเปลี่ยนโช้คหน้าเป็นรุ่นใหม่และตามติดมาด้วยการเปลี่ยนโช้คหน้าใหม่ให้กับรุ่น500ในปี1948

ปี1948 ได้มีการผลิตรุ่นJ2 โดยติดตั้งท่อไอเสียคู่ เป็นรุ่นที่ผลิตเฉพาะเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ
รุ่นJ2เป็นรุ่นที่มีโครงรถแข็งแรงและใช้เกียร์4สปีดของAlbion คันเกียร์ออกแบบพิเศษให้ผู้ขับกดหาเกียร์ว่างได้ ใช้ขนาดเครื่อง499ซีซี ก้านกระทุ้งเดี่ยว ขนาดลูกสูบ 84มม.X90มม. กำลังอัด 5.5:1 ในปี1950 กำลังอัดได้ปรับให้สูงขึ้นเป็น5.7:1 ทำให้กำลังม้าเพิ่มขึ้นเป็น21แรงม้า(16kW)ต่อ4,750รอบ ปี1949 ได้มีการแนะนำรุ่นBullet ใหม่ ขนาดเครื่องยนต์350ซีซีและ500ซีซีเครื่องV-Twin จนกระทั่งปี1954 Bullet 350ซีซี จึงผลิตที่อินเดียจนกระทั่งปัจจุบัน ปี1953 ได้มีการผลิตรุ่นขนาดเครื่อง500ซีซี โดยใช้ปลายด้านโตก้านกระทุ้งขนาดเดิมก่อนหน้านี้ หลังจากปี1956 ได้มีการมีการปรับปรุงโครงรถใหม่สำหรับรถรุ่นBulletที่ผลิตในอังกฤษซึ่งแตกต่างจากรถที่ผลิตในอินเดียนับตั้งแตปี1954เป็นต้นมา รุ่นที่ผลิตในอังกฤษได้หยุดการผลิตลงในปี1964

สวิงอาร์มแบบใหม่ที่ติดตั้งในรถรุ่น500ซีซี V-Twin ก็ได้นำไปติดตั้งในรถรุ่น Interceptorด้วยเช่นกัน ปลายด้านโตของก้านกระทุ้งเป็นแบบไม่มีแบริ่ง ก้านสูบของเครืองยนต์ทำงานโดยข้อเหวี่ยงที่ต่อกับเพลา ในปี1956 รุ่นSuper Meteor 700ซีซี ได้มีการติดตั้งแบริ่งแบบพิเศษที่มีคุณสมบัติในการช่วยให้ผิวหน้าลื่นเพื่อใช้เป็นแบริ่งก้านกระทุ้งด้านโต และมีการนำไปติดตั้งกับรถทุกรุ่นที่ใช้V-Twinนับตั้งแต่นั้นมา

รุ่นBullet 500 เครื่องยนต์มีขนาด 25แรงม้า(19kW)ที่5,250รอบ ขณะที่แรงบิดสูงสุดถึง 29ปอนด์/ฟุตที่3,600รอบ นับตั้งแต่2.00รอบขึ้นไปแรงบิดจะไม่ลดลงต่ำกว่า 25ปอนด์/ฟุต จนกระทั่งเกินกว่า5,300รอบ)

ลำดับเหตุการณ์
              ·      1851- จอร์จ ทาวน์เซ็น ตั้งโรงงานชื่อ Givry Work ในเมืองฮันท์เอ็น แคว้นอิงแลนด์ 20ปีต่อมา จอร์จ                         ทาวน์เซ็น จูเนียร์บุตรชายของผู้ก่อตั้งบริษัท นำรถจักรยาน โครงเหล็ก ล้อไม้ และขาถีบเป็นไม้ซึ่ง                             ถือว่าเป็นต้นแบบจักรยานเข้ามาในบริษัท จอร์จ จูเนียร์และทีมคิดว่าพวกเขาน่าทำได้ดีกว่านี้จึงเข้า                         ร่วมในการผลิตจักรยานในยุคที่ตลาดจักรยานกำลังบูม ด้วยการจดทะเบียนลิขสิทธิการผลิตอาน                             จักรยานแบบสปริงขดม้วน2ขดใต้อานที่ม้วนจากลวดเหล็กเส้นเดียวโดยยึดติดกับโครงรถ แล้วจึงเข้า                       สู่ธุรกิจการผลิตจักรยานและอะไหล่ออกจำหน่ายในตลาดขณะนั้น
·      1880- การเกิด: เรื่องราวต่างๆที่เริ่มต้นจาก บริษัทTowsen Cycle Company ในเมืองเร็ดดิทช์ ประเทศอังกฤษ
·      1892- ที่มาของแบรนด์Royal Enfield หลังจากที่R.W. Smith และAlbert Eadie  ได้เข้าครอบครอง      บริษัท Towsend จึงได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น The Eadie Manufacturing หลังจากนั้นไม่นาน  บริษัทก็เซ็นสัญญาส่งมอบชิ้นส่วนอาวุธปืนกับบริษัท Royal Small Arm แห่งเมืองเอ็นฟิลด์ในมิดเดิล  เซ็กเพื่อผลิตปืนไรเฟิลแบรนด์เอ็นฟิลด์  ช่วงเดียวกันนั้นบริษัทก็ผลิตรถจักรยานรุ่นแรกชื่อจักรยานเอ็น  ฟิลด์ออกสู่ตลาดโดยตั้งบริษัทใหม่ในการทำตลาดรถจักรยาน ชื่อว่าบริษัท Enfield Manufacturing   ปีต่อมาเพื่อขยายตลาดให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น บริษัทจึงเพิ่มคำว่าRoyal ข้างหน้าชื่อเดิม นั่นคือจุด  เริ่มต้นของเครื่องหมายการค้าที่เป็นตำนาน ด้วยสโลแกน “ผลิตดุจปืน” จึงปรากฎตัวขึ้นเป็นครั้งแรก 
·      1898-ผลิตรถ4ล้อ(Qoadricycle) ใช้เครื่องยนต์ขนาด2.7แรงม้า ของDe Dion-Boutonในนามรอยัล  เอ็นฟิลด์ และติดตามมาด้วยรถ3ล้อ

จักรยานติดเครื่องยนต์บนล้อหน้ารุ่นแรก

·      1901- ผลิตรถจักรยานติดเรื่องยนต์เป็นครั้งแรกขนาด150ซีซี วางเครื่องบนล้อหน้า ใช้สายพานส่งแรง  จากล้อหลัง ตามแบบเวอร์เนอร์ 
·      1907- บริษัทยุบรวมกับบริษัออลเดย์ และโอเนี่ยน ผลิตรถยนต์รุ่น เอ็นฟิลด์ออลเดย์ จนกระทั่งถึง         ปี1925 
·      1909- เอ็นฟิลด์สร้างความประหลาดใจให้กับวงการมอเตอร์ไซด์โลกด้วยการผลิตรถมอเตอร์ไซด์  ขนาด2.1/4แรงม้า เครื่องยนต์Motosacoche V-Twinจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 
·      1901- รุ่นต่อมาได้เพิ่มแรงม้าเป็น2.3/4 2เกียร์ 
  ·      1912- ผลิตรุ่นJAP ขนาดเครื่องยนต์770 ซีซี ขนาด6แรงม้า V-Twin พร้อมห้องโดยสารด้านข้าง 
  ·      1914- ส่งรุ่น3แรงม้าใช้เครื่องที่ผลิตเองออกสู่ตลาด
  ·      1939- รุ่นJS คือจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่รุ่นประชานิยมอย่างรุ่นBullet
  ·      1949- รุ่นBullet เข้าสู่ประเทศอินเดีย นักธุรกิจหนุ่ม2คน คือซันดาราม และ ชานการ์ แห่งมัดราสมอ        เตอร์ สั่งรถรุ่นนี้เข้ามาจำหน่ายในอินเดีย
  ·      1955- มีการจัดตั้งบริษัทเอ็นฟิลด์ในอินเดีย ในชื่อ Enfield India Limited Incorporation ณเมืองมัด      ราส(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นเชนไน) เป็นการเปิดศักราชของการผลิตรถมอเตอร์ไซด์ในอินเดีย ในช่วง        แรก เป็นการประกอบรถโดยการสั่งชิ้นส่วนมาจากอังกฤษ แต่ในไม่ช้าชิ้นส่วนทุกชิ้นก็ผลิตในอินเดีย      และเริ่มการประกอบรถทั้งคันจากชิ้นส่วนที่ผลิตในอินเดีย
  ·      1970- โรงงานแม่ในอังกฤษปิดตัวลง ถือเป็นการสิ้นสุดตำนานรถอังกฤษที่เคยรุ่งโรจน์ 

เอ็นฟิลด์อินเดีย 

                                                       โรงงานผลิตในอินเดีย

รอยัลเอ็นฟิลด์ ขายในอินเดียตั้งแต่ปี1949 ในปี1955 รัฐบาลอินเดียกำลังมองหารถมอเตอร์ไซด์เพื่อใช้ในกองทัพและกิจการตำรวจ เพื่อใช้ตรวจตราชายแดน รถรุ่นBullet ของรอยัลเอ็นฟลิด์ได้รับเลือกว่าเหมาะสมที่สุดในการใช้งาน รัฐบาลอินเดียจึงสั่งซื้อรถรุ่นนี้เข้าประจำการ โดยสั่งซื้อรุ่นBullet 350ซีซี จำนวนทั้งสิ้น800คัน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณการซื้อขายจำนวนมากในเวลานั้น

ในปี1955 บริษัทที่เร็ดดิชท์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทมัดราสมอเตอร์อินเดียได้ก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาเพื่อประกอบรถรุ่นBullet 350ซีซีเป็นการเฉพาะ ในนามบริษัท เอ็นฟิลด์อินเดีย ปี1957 เอ็นฟิลด์อินเดีย ซื้อเครื่องไม้เครื่องมือทั้งหมดจากเอ็นฟิลด์อังกฤษ เอ็นฟิลด์อินเดียจึงสามารถผลิตชิ้นส่วนรถได้ทั้งคันเพื่อประกอบรถในอินเดียอย่างแท้จริง

ปี1986 ราชา นารายัน ข้าราชการอังกฤษเชื้อชาติอินเดีย ได้กลับอินเดีย และช่วยทำตลาดในอังกฤษ โดยจัดส่งรุ่นBullet 350ซีซี เข้าไปขายในอังกฤษเป็นรุ่นแรก และได้รับการวิพาก์วิจารณ์จนนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น  ในปี1989 จึงนำไปสู่การเปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์ในอังกฤษ

ในปี 1994 กลุ่มบริษัทไอเชอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ รถมอเตอรไซด์ และเครื่งจักรกลขนาดใหญ่ เช่นแทรคเตอร์ในอินเดีย รถยน์บันทุก รถยนต์เพื่อการพานิช ได้เข้าซื้อบริษัทเอ็นฟิลด์อินเดีย ในปลายปี1995 เอ็นฟิลด์อินเดียก็ได้รับสิทธิให้ใช้ชื่อ รอยัลเอ็นฟิลด์แห่งอินเดีย ปัจจุบันนี้ได้ส่งออกรถแบรนด์รอยัลเอ็นฟิลด์ไปจำหน่ายในกว่า42ประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยผ่านเครือข่ายผู้นำเข้า40ราย ตัวแทนจำหน่ายกว่า300ราย

                                                                     ภายนอกโชว์รูมRoyal Enfield อินเดีย




โรงงานรอยัลเอ็นฟิลด์อินเดีย

รอยัลเอ็นฟิลด์อินดีย มีโรงงานผลิตและประกอบรถ ในเมืองเชนไน ทามิลดานู โรงงานผลิตแห่งนี้ผลิตรถมาตั้งแต่ปี1955 และยังคงผลิตรถรุ่น Bullet 350และ500ซีซี จนปัจจุบัน
รุ่นรถที่ผลิตในโรงงานแห่งนี้ประกอบด้วยรุ่นต่างๆดังนี้
·      Thunderbird 500
·      Thuderbird300
·      Classic Desert Storm
·      Classic Battle Green
·      Classic Chrome
·      Classic500
·      Classic350
·      Bullet500
·      Bullet350
·      Bullet Electra
·      Bullet Machismo
·      Continental GT
·      Himalayanรถรุ่นใหม่ล่าสุดขนาดเครื่องยนต์411ซีซี แบบAdventure Touring เปิดตัวเมื่อวันที่2กุมภาพันธ์ 2016ที่ผ่านมานี้







จบสมบูรณ์ คอยพบกับบทสัมภาษณ์ สิทธิทัตถะ ลาล CEO หนุ่มผู้หลงไหลในการขับขี่มอเตอร์ไซด์ ทายาทกลุ่มบริษั์ไอเชอร์ เจ้าของบริษัทRoyal Enfield อินเดีย เร็วๆนี้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น