วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

KTM รถมอเตอร์ไซด์สีส้มเชื้อสายออสเตรีย-ตอนที่1


ตอนที่1



KTM คือแบรนด์ผู้ผลิตมอเตอร์ไซด์ที่คนไทยรู้จักกันไม่มากนัก แต่กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์ในต่างประเทศแล้ว แบรนด์นี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นแบรนด์ที่มียอดขายเป็นอันดับหนึ่งของยุโรปมีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ด้วยกลยุทธ์การตลาดที่แตกต่างแซงหน้าBMWขึ้นไปอยู่แถวหน้าด้วยความโดดเด่นมีความสามารถเฉพาะตัวสูง และได้รับการยอมรับจากลูกค้าว่าเป็นรถทีมีนวัตกรรมที่แตกต่างอย่างเช่นรุ่น1190Adventure ซึ่งเป็นรถที่มีสมรรถนะแรง เบา มีอุปกรณ์ควบคุมการทรงตัวเพื่อป้องกันรถล้มเมื่อเข้าโค้ง จนได้รับการยอมรับว่าเป็นรถประเภทท่องเที่ยวผจญภัย(Adventure Touring)เหนือแบรนด์อื่นๆในปี2014
เส้นทางเดินกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้เป็นสิ่งที่ควรศึกษา น่าเรียนรู้เพราะจะทำให้เราเข้าใจว่าบริษัทที่เริ่มจากการค้าเล็กๆต้องผ่านอุปสรรคขวากหนามอะไรบ้างกว่าจะขึ้นมายืนอยู่บนแท่นชัยเป็นแชมป์เปี้ยนในวงการค้ามอเตอร์ไซด์ของยุโรปในทุกวันนี้ แนวทางในการบริหาร วิสัยทัศน์ ปรัชญาความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังที่เป็นเหมือนโครงสร้างอันแข็งแกร่งเป็นเสาค้ำให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงปี1992เป็นต้นมา ในขณะที่หลายบริษักลับล้มหายตายจากหรือถูกซื้อกิจการไปเช่นHusberg Husquana เป็นต้น
KTM วางเป้าหมายไว้ว่าต้องการเป็นแบรนด์ชั้นนำในการผลิตรถที่สร้างความเร้าใจในการขับขี่ จึงได้กำหนดปรัชญาของบริษัทว่า รถทุกคันที่ผลิตต้อง “พร้อมแข่งขัน”(Ready to Race) จิตวิญญาณพร้อมแข่งขันได้รับการปลูกฝังให้กับพนักงานทุกคน และบรรดาตัวแทนจำหน่ายรถKTMทั่วโลก
 พร้อมการแข่งขัน” (Ready to Race)คือคำขวัญอย่างเป็นทางการของKTM ซึ่งสะท้อนถ่ายให้ตระหนักถึงหลักการสำคัญในการออกแบบรถของKTM ที่ถือว่าเป็นหลักปรัชญาที่เป็นดีเอ็นเอฝังแน่นอยู่ในจิตใจพนักงานทุกคน องค์ประกอบของปรัชญานี้ประกอบด้วย ความบริสุทธิ(Purity) สมรรถนะ(Performance) การผจญภัย(Adventure)และความมันสุดขีด(Extreme) บริษัทมีความหลงไหลอย่างสุดซึ้งในรถมอเตอร์ไซด์ ซึ่งปรากฎให้เห็นได้จากรถรุ่นใหม่ๆที่ผลิตออกมา นับเนื่องตั้งแต่รถมอเตอร์ไซด์ทางฝุ่น(Off road)ไปจนกระทั่งถึงรถทางเรียบ(Street bikes)
ภาระกิจประจำวันของเคทีเอ็มคือการคงวิถีชีวิตพร้อมแข่งขัน”ตลอดเวลา ด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องให้กับวงการมอเตอร์ไซด์ของโลก
จุดเริ่มต้น
Hansและน้องสาว
ใครจะไปคิดว่าบริษัทที่เริ่มต้นจากการเป็นร้านเกี่ยวกับงานกลึงโลหะและซ่อมรถมอเตอร์ไซด์จะเป็นบริษัทที่ปฏิวัติวงการมอเตอร์ไซด์โลกในอีกศตวรรษต่อมาในชื่อ KTM Sportsmotorcycle ตอนเริ่มทำการค้าเป็นแค่เพียงร้านรับกลึงงานโละ ซ่อมมอเตอร์ไซด์และรถยนต์ในเมืองแมททิกโฮเฟ่น เมืองขนาดเล็กซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของ ประเทศออสเตรีย โดย วิศวกรฮานส์ ทรังเคนโพลซ์  เมื่อปี1934 ชื่อว่า Kraftfahrzeuge(แปลว่ารถยนต์) Trunkenpohz Mattighofen นอกจากนั้น เขายังเป็นตัวแทนขายรถมอเตอร์ไซด์DKW*และรถยนต์Opelอีกด้วย เพียง2ปีที่เปิดกิจการ ปรากฎว่าได้รับความน่าเขื่อถือในการเป็นช่างกลึงและการซ่อมรถระดับฝีมือจึงได้ขยายงานจนถือว่าเป็นร้านซ่อมขนาดใหญ่ที่สุดในเขตนั้น
เนื่องจากปี1950 งานซ่อมได้ลดน้อยถอยลง จึงต้องรับงานผลิตชิ้นส่วนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมแต่ก็ดูว่าธุรกิจจะไปได้ไม่ดีนัก จึงเริ่มแสวงหาธุรกิจใหม่ๆ ในช่วงเวลานั้นการผลิตมอเตอร์ไซด์ดูว่าน่าจะเป็นช่องทางที่สดใสกว่า เพราะความต้องการมอเตอร์ไซด์หลังสงครามเพิ่มมากขึ้น เขาจึงเริ่มแผนผลิตมอเตอร์ไซด์และเสาะแสวงหาชื่อยี่ห้อที่โดน
ซ้ายวิศวกร Hans TrunkenPolz ขวา Ernst Konreifหุ้นส่วนธุรกิจ


ภาพรถมอเตอร์ไซด์DKW 198ซีซี ปี1940 จากWikipediaภาษาเยอรมัน โดยChiemee Man

ในปลายสงครามโลกครั้งที่2 ปี1951เป็นช่วงเริ่มต้นการพัฒนารถมอเตอร์ไซด์รุ่นR100โดยใช้เครื่องยนต์ขนาด98ซีซี 2สูบ 
รถรุ่น KTM R100

ปี1953 Ernst Konreif นักธุรกิจชาวออสเตรียผู้ชื่นชอบการแข่งขันรถมอเตอร์ไซด์ เข้ามาถือหุ้นใหญ่  ชื่อร้านจึงเปลี่ยนไปเป็นชื่อของผู้ถือหุ้น ในชื่อKonreif Tronkenpolz Mattighofenซึ่งเอกสารเกี่ยวกับประวัติKTM ระบุว่าขื่อKTM มีที่มาจากตัวอักษรตัวแรกของชื่อผู้ก่อตั้งและหุ้นส่วนรวมถึงชื่อเมืองที่ตั้ง แต่ก็มีผู้ให้ความเห็นเป็นอย่างอื่น   
KTM เริ่มต้นผลิตรถมอเตอร์ไซด์รุ่นR100ของตนเองออกจำหน่ายเป็นรุ่นแรกโดยใช้เครื่องยนต์Rotax* ของบริษัทSachs R100 เป็นมอเตอร์ไซด์ ที่ยังใช้เทคโนโลยี่แบบง่ายๆ เป็นเกียร์มือปรับได้2ระดับ ใช้สัญญลักษณ์เสือรอดบ่วงตัวหนังสือKTM ซึ่งถือเป็นโลโก้แบรนด์KTM เป็นโลโก้แรก ในปี1954 KTM ได้เปลี่ยนโลโก้ซึ่งถือเป็นโลโก้อย่างเป็นทางการเมื่อErnst Kronreif เข้ามาถือหุ้นในบริษัท โดยใช้พื้นวงรีสีส้มมีอักษรKTM อยู่ตรงกลางวงรี
Logo ปี1953
Logo ปี1954
ช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี1954 KTM ก็เฉลิมฉลองรถรุ่นท่องเที่ยว(Tourist) R125 ที่ผลิตครบคันที่1000 ซึ่งเมือ18เดือนก่อนหน้านี้ KTM ได้นำไปโชว์ในงาน International Spring Fair ณ กรุงเวียนนา ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นช่วง10ปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และป็นยุคที่มอเตอร์ไซด์ถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย
KTM R125 Tourist
International Spring Fair
ในช่วงเริ่มต้นโรงงานมีพนักงานทั้งสิ้น20คน ผลิตได้วันละ3คัน โดยเริ่มผลิตR100เป็นรุ่นแรก จนเมื่อสิ้นปีจึงผลิตได้วันละ6คัน ซึ่งไม่เพียงพอกับตลาดและการคาดการว่าตลาดจะเติบโตไปมากกว่านี้ Hans จึงขยายไลน์การผลิตไปยังเมือง Schalchen ซึ่งอยู่ใกล้เคียง และได้เพิ่มการผลิตรถที่มีขนาดใหญ่ขึ้นคือ รถรุ่นR125 ขนาดเครื่องยนต์125CCแรงม้า6.1แรงม้า ขณะที่R100มีขนาดแรงม้าเพียง3แรงม้า
อย่างไรก็ตามรุ่นR100ก็ได้สร้างชื่อเสียงให้กับKTM จนเป็นที่กล่าวขานอย่างมาก จากการที่ได้กวาดรางวัล 1 2 และ3 รวด จากการแข่งขัน Gaisberg Raceครั้งที่5 ติดตามมาด้วยการคว้ารางวัลการแข่งขัน Austria 125 National Championshipในปี1954 ในปีเดียวกันนี้เป็นปีที่KTM ผลิตรถครบ1000คัน 
KTM R125 Tourist
R125 Tourist เป็นมอเตอร์ไซด์ทางเลือกใหม่ที่ใช้ทำงานและขับขี่ท่องเที่ยวซึ่งเข้ากับสมัยนิยมของนักขับขี่สมัยนั้น เพราะเป็นช่วงปีแรกที่เศรษฐกิจบูม และด้วยขนาดเครื่องยนต์125CC ความความเร็วสูงสุดรีดได้ถึง 90กิโลเมตร/ชั่วโมงที่ได้รับการโฆษณาผ่านสื่อช่วยกระจายความรับรู้ของผู้ชื่นชอบมอเตอร์ไซด์สมัยนั้น ทำให้รถรุ่นนี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว 
ความเหนือกว่าของR125Tourist นอกจากเครื่องยนต์ใหญกว่าแล้วยังถือว่าเป็นรถที่แตกต่างจากรถมอเตอร์ไซด์ในขณะนั้น ทั้งการมีตัวถังที่แข็งแรง มีการติดตั้งโช้คอัพหลัง สวิงอาร์ม โช้คหน้าเป็นแบบน้ำมันไฮดรอลิค ล้อ16นิ้ว ยางหน้ากว้างง่ายต่อการควบคุมรถ และเครื่องยนต์รุ่นใหม่Rotexที่ได้ลิขสิทธิการผลิตในประเทศออสเตรียจากบริษัท Fichtel & Sachs เป็นเครื่องยนต์ที่ทันสมัยกว่ารุ่นR100 เครื่องยนต์ของR125Tourist เป็นแบบ3เกียร์ปรับด้วยเท้าพร้อมสตาร์ทเท้า ทำให้สมรรถนะของR125Tourist สามารถเทียบเคียงกับแบรนด์ของคู่แข่งรถมอเตอร์ไซด์ในประเทศเยอรมันในขณะนั้นได้
การสร้างความเชื่อมั่นและแสดงให้เห็นของสมรรถนะของเครื่องยนต์นั้นไม่มีกิจกรรมใดดีไปกว่าการส่งรถมอเตอร์ไซด์เข้าร่วมการแข่งขันระยะทางไกลและเป็นการแข่งขันที่เป็นที่นิยมในปี1950 ณ เวลานั้นถนนหนทางเครือข่ายระหว่างเมืองยังมีสภาพไม่ดีนัก ส่วนใหญ่จึงใช้การขับขี่ข้ามประเทศและใช้ถนนเชื่อมระหว่างเมืองเป็นสนามแข่งขัน

เมื่อวันที่30 ตุลาคม 1954 รถรุ่นR125 Tourist 3คันพร้อมกัน ณ ชายขอบกรุงปารีส ฝรั่งเศส เป้าหมายคือกรุงเวียนนา ออสเตรีย ระยะทางรวมทั้งสิ้น1300กิโลเมตร ระยะทางเท่ากับรถไฟสาย Arlberg-Express ซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น24ชั่วโมงในการเดินทาง ถ้าเป็นKTM 1190 Adventure สมัยนี้แล้วไม่ใช่ปัญหาเลยสบายมาก แต่ครั้งนั้นเป็นการผจญภัยอย่างแท้จริงสำหรับรถสมัยนั้น นักขี่3คน ซึ่งคนหนึ่งนั้นคือHans เจ้าของบริษัท ต้องอัดความเร็วเต็มที่ภายใต้สภาพอากาศย่ำแย่ของฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งโดยสแตนดาร์ดของรถรถแล้ววิ่งได้ที่ความเร็ว100กิโลเมตร/ชั่วโมง ระบบไฟส่องสว่างของรถในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวย ไฟหน้ามีขนาดแรงไฟเพียง6โวลท์แค่ส่องสว่างได้เท่านั้นแต่ไม่สามารถสาดส่องให้เห็นถนนได้ แต่ในที่สุด ช่วงเวลา10โมงเช้าของอีกวันหนึ่ง รถทั้ง3คันก็ถึงจุดหมายคือนครเวียนนา ซึ่งเร็วกว่ารถไฟ2ชั่วโมง โดยรถของHans โช้คหน้าหัก รถคันอื่นสภาพเรียบร้อยดีเพียงแต่ต้องคอยเติมน้ำมันเท่านั้น
Erich บุตรชายของผู้ก่อตั้ง ยังได้นำรถรุ่นนี้เข้าแข่งขันในเมืองMattighofen ที่เป็นฐานผลิตรถKTM เขาสร้างความตื่นเต้นเร้าใจให้กับผู้ชมเมื่อคว้าแชมป์ไปครองในประเภทTouring 125CCโดยใช้รถสแตนด์ดาร์ดจากโรงงานและคว้าตำแหน่งที่สองในรุ่น175CC
การผ่านสนามการแข่งขันได้เป็นข้อพิสูจน์สมรรถนะของรถเป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่ยอดขายของR125 TOURIST ถล่มทะลายในเวลาต่อมาและติดตามมาอีกหลายรุ่นในอีก6ทศวรรษต่อมา ตัวเลข1000บนแฮนด์มอเตอร์ไซด์ของรถรุ่นนี้เป็นประจักษ์พยานเป็นอย่างดี


ปี1955 เป็นปีที่นักฟิสิกค์อัจฉริยะผู้ลือนามของโลก อัลเบริต์ ไอน์สไตล์ผู้เสนอทฤษฎีสัมพันธ์ภาพได้เสียชีวิตลง  เจมส์ดีน นักแสดงหนุ่มแห่งฮอลีวู้ดไอคอนของวัยรุ่นสมัยนั้น เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เพลงRock Around The Clock ของ Bill Haley ติดอันดับเพลงฮิตสูงสุด เพลงUnchained Melody เพลงอมตะตลอดกาล ที่มียอดขายถึงล้านแผ่นได้รับการแต่งขึ้น
เป็นปีที่โลกของมอเตอร์ไซด์กำลังสดใส สงครามโลกรั้งที่สองได้สิ้นสุดไปกว่า10ปีแล้ว เศรษฐิกิจกำลังฟื้นตัวอีกครั้งหนึ่ง ผู้คนมีกำลังจับจ่ายใช้สอยทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมอเตอร์ไซด์กำลังได้รับความนิยม บริษัทผู้ผลิตมอเตอร์ไซด์ใหม่แห่งนี้ ก็นำเสนอรถรุ่นที่3 The Grand Touristในงาน The Vienna International Spring Fair คุณสมบัติที่โดดเด่นของรถรุ่นนี้ก็คือการเปลี่ยนโช้คหน้าจากระบบ Telescopic มาเป็นโช้คหน้าที่นำมาจากรถ125CCที่ใช้ในการแข่งขันในสนามมาใช้กับรถเพื่อการพาณิชย์ โช้คหน้ารุ่นใหม่ของEarles ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ ถือว่าเป็นเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยในสมัยนั้น

KTM Grand Tourist

เทคโนโลยี่ดั้งเดิมของโช้คหน้าแบบTelescopicในปี1950นั้นแตกต่างจากในสมัยปัจจุบันมาก เนื่องจากโช้คหน้าสมัยนั้นเป็นแค่เพียงใช้บังคับเลี้ยวและอุปกรณ์ดูดซับแรงสะเทือนเท่านั้นยังไม่สามารถต้านทานแรงบิดหรือมีหน้าที่หน่วงการเด้งของสปริง น้ำมันหรือจารบีที่ใช้ก็เพื่อหล่อลื่นตัวกระบอกไม่ให้ฝืดเท่านั้น แต่โช้คหน้าของEarles ใช้ระบบไฮดรอลิคควบคุมแรงหน่วงของโช้ค ซึ่งได้ผ่านการทดสอบจากระบบโช้คอัพหลังมาเนิ่นนานหลายปี โช้คหน้ารุ่นใหม่จะไม่กดต่ำลงเมือรถเบรก เพระได้ออกแบบให้ส่วนหน้าของรถยกขึ้นโดยไม่มีผลให้โช้คอัพแข็งขึ้น โช้คทั้งสี่4ตัวมีขนาดเท่ากันหมดและสามารถถอดซ่อมได้ โช้คหน้าของEarles ได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วและเป็นทางเลือกแรกในการติดตั้งในรถที่เข้าแข่งขันในการแข่งขันรุ่นเล็กของการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ วิวัฒนาการของโช้คหน้าได้แปรเปลี่ยนไปในอีกทศวรรษต่อมา เมื่อบริษัทCeriani ได้นำเสนอโช้คหน้าแบบTelescopicระบบใหม่ที่ติดตั้งระบบการหน่วง(Functional Damping)เข้าไปในตัวโช้ค
รถรุ่นGrand Tourist ไม่ได้ประสบชัยชนะในด้านยอดขายเท่านั้น ในการแข่งขันก็ประสบชัยชนะด้วยเช่นกัน  แต่KTMก็ไม่ได้หยุดยั้งแค่รถที่ขับขี่บนถนนทางเรียบเท่านั้น ยังคงมุ่งมั่นในการผลิตรถวิบากเพื่อการแข่งขันด้วยเช่นกัน KTMได้นำเค้าโครงของรถรุ่นGrand Tourist มาเติมแต่งรถสายวิบาก โดยหยิบเอาตัวถังรถของGrand Tourist มาใส่เครื่องใหม่ ติดตั้งแฮนด์แบบรถวิบากเข้าไป เปลี่ยนยางเป็นยางรถวิบากและยกท่อไอเสียให้สูงขึ้น ซึ่งรถรุ่นนี้มีรายชื่อปรากฎอยู่ในแคตตาล๊อคว่าKTM125ซึ่งเป็นรถรุ่นพิเศษของGrand Tourist




KTM Tourist 125 เข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรกในรายการBaedepreiss Race 1955
นอกเหนือจากรุ่นR100 R125TouristและGrand Touristแล้ว KTMยังได้แนะนำรถสายพันธ์สกูตเตอร์ในสายการผลิตเป็นครั้งแรก ปลายปี1955 Mirabell 125CC สไตล์สกูตเตอร์ที่ถือเป็นประวัติศาสตร์ความภาคภูมิใจของKTMด้วยเช่นกัน Mirabellได้รับการแนะนำต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก เสียงการตอบรับและชื่นชมถึงความงดงาม มีรสนิยมและสง่างามของMirabell ซึ่งล้วนแล้วแต่สอดคล้องกับรสนิยมในยุคสมัยนั้น Mirabellมีความหมายว่าน่าชื่นชมและน่าดึงดูดใจ รถได้รับการนำเสนอสู่ตลาดว่าเป็นรถยนต์2ล้อ(Car on two wheels) Mirabellไม่ใช่รถที่ใช้ขับขี่ประจำวันเท่านั้น ยังสามารถขับขี่ทางไกลได้อีกด้วย โดยพิสูจน์ได้จากที่ชายคนหนึ่งขับรถรุ่นนี้จากนครเวียนนาข้ามไปยังเมืองMeteora ประเทศกรีซ ด้วยรถใหม่ที่เพิ่งถอยมาหมาดๆ Mirabell คือชื่อของปราสาทในเมืองSalzbergประเทศออสเตรียซึ่งเป็นสถานที่มีชื่อเสียงในการเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว
KTM Mirabell Scooter
KTM Mirabell Poster

ในปี1956 KTM มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข้งให้กับรถรุ่นวิบากโดยร่วมเข้าแข่งขันในรายการแข่งขันรถวิบาก KTMเข้าร่วมการแข่งขันรถวิบากในรายการ International Six days Trial(ISDT)ครั้งที่ 31 ในเดือนกันยายน 1956 ซึ่งเป็นรายการแข่งขันระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก   ขับขี่โดยEgon Dornauer ในรุ่นไม่เกิน125CC ก็คว้าเหรียญทองมาครอบครองได้สำเร็จถือเป็นหมุดหมายที่สำคัญของการสร้างชื่อเสียงให้กับรถวิบากKTMในระดับระหว่างประเทศ ปัจจุบัน รายการแข่งขันนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น International Six Days Enduro(ISDE)
KTM เริ่มต้นการสร้างพันธสัญญาในการเข้าร่วมการแข่งขันทั้งการแข่งขันรถทางเรียบและรถวิบาก ผู้ก่อตั้งและบุตรชายหายใจเข้าออกเป็นการแข่งขันมาตั้งแต่ปี1950 จึงไม่น่าแปลกใจที่KTMส่งรถวิบากเข้าแข่งขันในระดับท้องถิ่นโดยสร้างสถิติในการได้ชัยชนะ จากนั้นจึงเข้าแข่งขันในระดับระหว่างประเทศโดยรถที่เข้าแข่งขันล้วนเป็นรถจากสายผลิตปกติไม่ใช่รถแต่งพิเศษเพื่อการแข่งขัน
Egon Dormnauer คว้าแชมป์ไปครอง ในการแข่งขันครั้งแรกในรายการ International Six Days Trial(ISDT)
ปี1957 KTM เสนอรถสกูตเตอร์รุ่น Meckyรุ่นน้องของ Mirabellพร้อมรถสปอร์ต Trophy125CCออกสู่ตลาด เครี่องยนต์ที่ติดตั้งในMecky เป็นเครื่องยนต์Rotaxที่ได้ลิขสิทธิการออกแบบและการผลิตในออสเตรียเป็นเครื่องแรกถือว่าเป็นหมุดหมายของการที่KTMใช้เครื่องยนต์ที่ผลิตเองเป็นครั้งแรก
KTM Meeky moped


ในปีเดียวกันนี้ KTMได้แนะนำรถในสายพันธ์สปอร์ตออกมาอีกรุ่นหนึ่งคือ KTM Trophy 125CC
KTM Trophy125CC 

ปีต่อมา Mirabell ได้ปรับโฉมใหม่ซึ่งนำเสนอเครื่องยนต์2รุ่นให้ลูกค้าเลือก คือขนาดเครื่อง125CC และ150CC ระบบส่งกำลัง 4เกียร์ โดยใช้โครงรถของรุ่นเดิม และใช้โช้คอัพและล้ออลูมิเนียมของMecky

ปี1959 วิศวกรลุดวิค แอปเฟลเบค พัฒนารถแข่งรถวิบากรุ่นใหม่ทำให้ Erwin Lechner กวาดรางวัลมามากมายหลายสนาม 

Erwin Lechner-1957

คอยพบกับเรื่องราวของKTM ตอนต่อไป

  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น