บรรดานักบริหารทั้งหลาย ไล่ตั้งแต่ผู้จัดการ ผู้จัดการทั่วไป กรรมการผู้จัดการ ประธานบริษัท มักคุ้นเคยกับคำกล่าวของซุนเจื่อ นักยุทธศาสตร์ ชาวจีน ที่ว่า “ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”ในหนังสือศิลปะแห่งสงคราม(The Art of War)
พวกเขาท่องประโยคนี้ของท่านซุนจื่อได้อย่างแม่นยำยิ่งนัก จนกลายเป็นความเชื่อที่ฝังรากลึกลงไปในระบบความคิดในการบริหารงานของบรรดานักบริหารทั้งหลายในปัจจุบัน
ทั้งๆที่หลายท่านไม่เคยอ่านหนังสือยุทธศาสตร์เล่มนี้เลยแต่รับฟังมาจากนักวิขาการต่างๆที่นำมาเผยแพร่ให้รับรู้กันในวงสัมนา
หรือการอ่านจากบทความเผยแพร่ในนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์
ความหมายดังกล่าวเมื่อนำมาตีความในเชิงธุรกิจ เข้าใจกันทั่วไปว่า
การที่จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันได้นั้น ต้องสามารถล่วงรู้ลึกถึงตับไตไส้พุงของคู่แข่ง
เช่นกลยุทธ์ของคู่แข่ง ผู้บริหารของคู่แข่ง แนวคิดที่คู่แข่งติดยึดอยู่
ระบบการจัดการทั้งการสั่งซื้อ การขาย การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
การบริหารทรัพยากรบุคคล ระบบการผลิต
และในขณะเดียวกันก็ต้องรู้ว่าสิ่งต่างๆที่กล่าวนั้นในบริษัทของตนเป็นเช่นไรเช่นกัน
สรุปว่าแค่รู้เขารู้เราก็สามารถรบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้งแล้วหรือ ถ้าการบริหารการจัดการถือว่าเป็นศาสตร์เป็นด้านวิชาการที่มีเหตุมีผล คำกล่าวของท่านซุนจื่อก็อาจจะเทียบได้กับการสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการซึ่งต้องศึกษาคู่แข่งและปรับปรุงตัวเองที่จะเอาชนะคู่แข่งโดยการศึกษาสายโช่คุณค่า(Value
Chain)เพื่อสร้างความแตกต่างในองค์ประกอบของสายโซ่คุณค่าเหล่านั้นซึ่งเป็นแนวคิดของนักยุทธศาตร์ธุรกิจสมัยใหม่ของไมเคิล
พอร์ตเตอร์ ก็มีความเป็นไปได้ที่รบร้อยครั้งก็จะชนะทั้งร้อยครั้ง
แต่การบริหารจัดการอีกด้านหนึ่งเป็นศิลปะซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจยากและเป็นสิ่งที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ตกม้าตายมานักต่อนักแล้ว
หากได้ศึกษาหนังสือศิลปสงครามของท่านซุนจื่ออย่างละเอียด
ท่านซุนเจื่อได้ชี้เหตุแห่งความพ่ยแพ้ไว้ด้วย
ซึ่งเป็นเรื่องของศิลปการจัดการที่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของมนุษย์เป็นสำคัญ
ท่านกล่าวว่าเหตุแห่งความพ่ายแพ้นั้นเกิดจากผู้ปกครองหรือเทียบได้กับเจ้าของบริษัทในสมัยนี้
หรือผู้บริหารของบริษัทเข้าไปก้าวก่ายงาน ล้วงลูก สร้างความระส่ำระสายให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา
ทำให้หมดกำลังใจ พนักงานขาดความทุ่มเทให้กับบริษัท ผู้บริหารฝีมือดีทะยอยลาออก สุดท้ายบริษัทเกิดความเสียหาย
หรือต้องเติบโตช้าลงแทนที่จะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
ประธานบริษัทหรือผู้บริหารระดับสูงเมื่อเทียบเคียงกับผู้ปกครองในความหมายท่านซุนจื่อได้สร้างความเสียหายให้กับกองทัพหรือบริษัท
3 ประการ
ประการที่1 ไม่ควรรุกแต่สั่งให้รุก
เพราะผู้ปกครองไม่รู้หน้าที่ของตนเอง ไม่มีความชำนาญเพราะไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานมาก่อน
ก็ไปสั่งการผิดๆถูกๆ ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือบริษัท
ประการที่2 ไม่ควรถอยแต่กลับสั่งให้ถอย
ประเภทนี้เหมือนกับประการแรก
ประการที่3 ไม่เข้าใจหลักการยุทธ์ ก็เข้าไปบัญชาการรบเอง
ทำให้กองทัพสับสนอลหม่าน ถ้าเป็นองค์กรธุรกิจก็ยุ่งเหยิงอลวนปั่นป่วนไปหมดทั้งองค์กร
เพราะประธานบริษัทลงมาทำหน้าที่ของผู้จัดการ แทนการทำหน้าที่ในการกำหนดทิศทางของบริษัท
ท่านซุนจื่อได้แนะนำวิธีการบริหารที่เป็นศิลปะว่าต้องยึดหลัก
5ประการจึงจะชนะศึก
1.
รู้ว่าควรรบหรือไม่ควรรบ
2.
รู้หลักการใช้ทหารมากหรือน้อย
3.
ฝ่ายนำและผู้ใต้บังคับบัญชา
ร่วมจิตสมัครสมานเป็นหนึ่งเดียวกัน
4.
เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
5.
ขุนพลเก่งกล้า ผู้ปกครองไม่สอดแทรกก้าวก่าย ปล่อยให้ปฏิบัติงานได้โดยเสรี
สรุปว่า
ต้อตอแห่งความพ่ยแพ้ทางธุรกิจนั้นไม่ได้อยู่ที่รู้เขารู้เราเพียงอย่างเดียว
แต่อยู่ที่พฤติกรรมของผู้ปกครองที่เป็นผู้คุมโชคชะตาของรัฐด้วยหรือผู้บริหารของบริษัทที่กุมโชคชะตาของบริษัทด้วย
ว่าได้ทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องหรือไม่ หากไปทำหน้าที่ของลูกน้องก็ไม่ต้องทำนายเลยว่า
ถึงจะรู้จุดอ่อนจุดแข็งของบริษัทตนเองและบริษัทอื่นๆเป็นอย่างดีก็ไม่มีวันชนะศึกได้
เพราะผู้บริหารผู้นั้น ไม่รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง ก็ย่อมนำบริษัทไปสู่การถดถอย ก้าวไม่ทันคู่แข่ง
เกิดความแตกแยก บางบริษัอาจถึงกับล่มสลายก็เป็นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น